วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระบาง ลําพูน

พระบาง

พระบาง กรุเก่า



พระบาง ลําพูน (กรุเก่า)

ศิลปการช่างเป็นแบบช่างหลวงหริกุญชัย อายุการสร้างประมาณ 1200 ปีมาแล้ว ส่วนองค์ประกอบพระเป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฎให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะ พระคงกับพระบาง เป็นพระที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากเข้าใจว่าเป็นพระฝีมือช่างเดียวกัน ต่างกันที่แม่พิมพ์

"พระบาง" หนึ่งในพระสกุลลำพูนซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระคง" มาก แต่จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมือน "พระรอด" ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ หรือที่เรียกกันว่า "มารยาหญิง" ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นการสร้างมาสำหรับผู้หญิงครับ

ด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์

เสน่ห์นั้นต้อง พระบาง
พระสกุลลำพูน ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านร้อยแปด และผงแร่ธาตุ  เนื้อดินมาจากใจกลางเมือง และมุมเมืองที่สำคัญ สร้างในสมัยเจ้าแม่จามเทวีที่ครองเมืองยุคแรกๆ เพื่อเป็นคติที่จะสร้างความร่มเย็น และมั่นคงแก่นคร

พระลำพูนเนื้อที่ละเอียดที่สุดคือ เนื้อพระรอด เพราะสร้างขึ้นด้วยดินผสมว่าน ส่วนมากเป็นดินหรดาน ( สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม) เนื้อละเอียดมาก มีความแข็งแกร่งสูงเพราะเผานานเจ็ดวันเจ็ดคืน เนื้อจึงแกร่งมาก  พระคง พระบาง พระเลี่ยง จะมีส่วนของว่านและแร่ดอกมะขามผสมอยู่ จึงมีสีแร่แดงๆกระจายไปทั่วเนื้อพระ ให้เห็นได้ชัดๆ เนื้อเนียน แร่ไม่ลอย   สำหรับพระลือ จะพบว่ามีแร่มากเพิ่มขึ้นมาอีกเพราะจะเน้นด้านอิทธิฤทธิ์ จึงหยาบกว่าพิมพ์อื่นๆ แต่สำหรับพิมพ์ที่เนื้อหยาบที่สุดคือ พระลบ ซึ่งมีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดและแร่พลอยทับทิม ซึ่งเมื่อเอียงดูด้วยกล้องขยายและทำมุมแสงให้ดี จะพบว่ามีแร่ทับทิม และแร่ทรายเงินทรายทองปรากฏเด่นชัด และเนื้อจะเป็นสีแดงด้วยสีของว่าน

อิทธิฤทธิ์ และพุทธคุณ เท่าที่เล่าสืบต่อกันมา จะทำให้ทราบว่า เนื้อพระมีส่วนที่ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ เช่น พระคงจะเด่นด้านคงกระพัน  พระบางซึ่งละเอียดกว่าจะเด่นเรื่องเมตตาโชคลาภ พระเลี่ยงจะเด่นเรื่องพ้นจากภัยภิบัติต่างๆ  พระลบ จะเด่นเรื่องคงกระพันและล้างสิ่งชั่วร้าย  พระลือ เด่นด้านการปกครองและอำนาจ สำหรับพระรอด จะเด่นเรื่องคลาดแคล้วจากภัยอันตรายทั้งปวงและโชคลาภ

การดูพระสกุลลำพูน ให้ดูเนื้อพระเป็นหลัก เนื้อพระกรุลำพูน จะเนียนนุ่ม ละเอียด ต่างจากพระใหม่ที่ผิวแห้งผาก หยาบ มีรูผิวพรุน เนื้อพระลำพูนซึ่งผ่านน้ำ ความชื้นจากกรุมาเป็นพันปี จะให้ความแห้งเนียน ปรากฏดินคราบกรุแม้นจะผ่านการล้างทำความสะอาดแต่เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นดินนวล (สีเหลืองอ่อนๆติดฝังลึกอยู่ในผิว และซอกพระ รูพรุนจะถูกแทนที่ด้วยครบดินนวล จึงทำให้ดูนุ่มเนียน แม้นพระปลอมจะทำเนื้อโดยนำไปคลุกคั่วกับไขหรือขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวดูนุ่มและไม่แห้งผาก มีการนำไปขัดด้วยใบตองแห้งให้มันวาว ก็ไม่ทำให้เกิดความหนึกนุ่มคล้ายพระเก่า เมื่อดูเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัด ดังนั้น ครูที่ดีที่สุดคือเนื้อพระเก่า และพระปลอมที่ทำได้ชนิดว่าดีที่สุด แล้วมานั่งแยกที่ละน้อยเรียนรู้กับการดูเนื้อ ท่านก็จะดูพระลำพูนเป็น

อีกอย่างหนึ่งคือ เส้นสายลายพิมพ์ ของพระ เส้นซุ้ม ก้านโพธิ์ ใบโพธิ์ จะเป็นลายนูนเห็นเด่นชัด ไม่ลบเลือน แม้นพระนั้นจะมีสภาพสึกก็ยังมีร่องรอยของเส้นสายอยู่ ขอบมุมของเส้นสาย จะคม มน กลม ละเอีดยแม้นพระปลอมรุ่นใหม่จะถอดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่แม่พิมพ์ไม่หดตัว แต่เส้นสายอาจมีผิดเพี้ยนด้านการกด และที่สำคัญแม้นเนื้อหาจะมีส่วนผสมที่นำดินเก่ามาบดอัดขึ้นรูป ก็หาความละเอียด เนียน และคราบนวลของกรุไม่เจอ แม้พวกมือผีจะพยายามทำคราบกรุ แต่ก็เพียงเหมือเอาไปคลุกดิน คราบบางทีหนาเตอะ ราดำที่ทำด้วยหมึกจีน หรือหมึกคอมที่ทนน้ำ ก็เป็นคราบจุดๆเหมือนโดนสลัดด้วยพู่กัน ไม่เหมือนคราบราดำจริงที่เกิดจากซอกพระและจากเนื้อผิวด้านในกระจายสู่ด้านนอกมีรากฝังลึก และแตกเป็นเส้นเห็นชัดด้วยกล้อง...

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์หลวง สุดยอดผ้ายันต์แห่งล้านนา



ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์หลวง สุดยอดผ้ายันต์แห่งล้านนา เป็นผ้ายันต์เขียนด้วยมือด้วยหมึกสักลงผ้าโบราณ(ผ้าดิบ) นิยมเก็บไว้ใช้ไว้บูชาหรือไว้กับบ้านเรือน
พุทธคุณครอบจักรวาล เชื่อว่าผู้ใดมีผ้ายันต์พระสิหิงค์ไว้ในครอบครอง จะมีประโยชน์มากมายกับการดำเนินชีวิต คือใช้อาราธนาได้นานับประการเลยทีเดียว



รายละเอียดผืนนี้
งานเขียนมือ บนผ้าดิบ สวยมาก เก่า หาไม่ง่าย ฝีมือใช้เยี่ยม ศิลป์ อลังการ ผืนใหญ่ประมาณ 1 เมตร
ในสุดเป็น พระพุทธสิหิงค์ ล้อมชั้นที่สองด้วย พระสาวก 12 องค์ ล้อมชั้นที่สามด้วย ขบวนเทพต่างๆ อีก 12 กลุ่ม
นอกสุดเป็น รูปท้าวจตุโลกบาล นาคบ่วงบาศ์ก์ รูปม้ารูปนกคุ้มภัย ยันต์ปัฐมัง คาถานวภา คาถาทุกขันเต รวมคาถาโชคลาภ และแคล้วคลาดเพียบ


สมัยโบราณเมื่อมีการหล่อ ปั้น หรือแกะสลักพระพุทธรูปด้วยไม้แล้ว จะนำไปกระทำพิธีแล้วถวายไว้บูชาไว้ที่วัด เพราะถือว่าที่อยู่ของพระพุทธรูปคือที่วัด จะไม่เก็บองค์พระพุทธรูปไว้บูชาที่บ้านเหมือนกับปัจจุบัน ถ้าใครเก็บไว้ที่บ้านถือว่าไม่ถูกต้อง ว่ากันว่าเป็นพระบ้านไปเสีย บนหิ้งพระในบ้านจะมีคำไหว้พระ คำไหว้พระธาตุ รูปเขียนเจดีย์ที่สำคัญหรือรูปเขียนสีพระพุทธรูปนั้น อย่างกับพระพุทธรูปที่ชื่อว่าพระสิหิงค์ ผู้ที่เป็นชายหัวหน้าครอบครัวก็จะเรียนเอาคำไหว้พระสิงห์ หรือคาถาพระสิงห์ คือคาถาปฐมัง ไว้ไหว้ทุกค่ำเช้า และบุคคลที่มีความรู้ในด้านคาถาอาคม มีความรู้ด้านขีดเขียน ก็จะเขียนรูปพระสิหิงค์บนแผ่นผ้า พร้อมทั้งเขียนภาพพระสาวกบางองค์ เขียนรูปท้าวจตุโลกบาล เขียนรูปช้างม้าลงไปด้วยและเขียนคาถาปัฐมัง คาถานวภา คาถาทุกขันเต เป็นต้น ลงบนแผ่ผ้านั้นๆ และเขียนแผ่นผ้านั้นว่า “ขบวนพระสิหิงค์ ”การทำผ้ายันต์พระสิหิงค์แต่ละผืนนั้นต้องใช้เวลาและความพยายามสูงเพราะมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอสมควร ดังนั้นจึงเชื่อว่า ผู้ใดมีผ้ายันต์พระสิหิงค์ไว้ในครอบครองจะมีประโยชน์มากมายกับชีวิต

วิธีใช้ผ้ายันต์พระสิหิงค์ ใช้ได้ ๑,๐๐๐ ช่อง คือใช้ได้นานับปาการ เลยที่เดียว ยกตัวอย่างเช่น หากจะบูชาไว้ป้องกันขึดเขิง คืออุบาทว์ทั้งหลายทั้งปวง ให้ว่าด้วย “อิติปิโส ภควา ข้าขออาราธนาพระพุทธเจ้ากับเจ้าแม่ธรณีทั้ง ๘ ทิศข้าก็ขอถวายตั้งจิตและสันดาน ที่สถานที่ ที่หย้าว ที่เรือน ขออย่ามีอุบาทว์จังไร มีทั้งประตูไม้ใผ่ ที่ใต้ถุน ที่ลุ่ม ที่เข็ญ ที่กับผะนัง ไม้หักไม้โค่น ทับที่ทับแดน แลนแล่นขึ้นเรือน งูเหลือมเลื้อยขึ้นชาน ช้างเถื่อนเข้าบ้าน เข้าสารออกงอกใบ เห็ดขึ้นกลางเตาไฟ มดปลวกรังแทงขึ้นใต้ถุนพื้นที่นอน วัวเปนสีจักเขาหักเขาคลอน นอนกรนนอนครางดังเหมือนดั่งเสียงฆ้อง เรือร้องดังเสียงกลอง กล้วยออกปลีทังข้างกลายเป็นดอกบัว ผีไห้ผีโห่ตัวสั่นถ่วาถ่วา ขันสำฤทธิ์ห้าวแตกเหมือนดาวกระจาย แมงมุมตีอก หนูกุกในเรือน นกเค้านกแขกมาแถกหลังคา ข้าพเจ้าจิ่งเอาน้ำเขาสูตรมาผะผายช้างม้าโยยาท่านหากกลัวเรา”

ขอขอบคุณข้อมูล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์  ศรีป่าซาง

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ครูบาศรีวิชัย 2482


ครูบาศรีวิชัย 2482 (สองชาย)
 
ครูบาศรีวิชัย 2482 (สามชาย)
 


วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

Google Check

วันนี้ได้รับ Check  30 Aug 2011




This check is for your
please visit
http://www.google.com/adsense/support

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระกรุฮอด

งานประกวดพระเครื่อง พระบูชา

19 ธันวาคม 2553 (เชียงใหม่) กรุฮอด พิมพ์สังกัจจายน์ ประเภทพระชุดจังหวัดเชียงใหม่ ยอดนิยม รายการ 22 ติดรางวัลที่๒





วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คาถา เมตตามหานิยม

คาถาเมตตามหานิยม

นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ

ใช้ภาวนาคาถาก่อนออกจากบ้าน จะทำให้คนที่พบเจอมีความรู้สึกที่ดี การติดต่อใดๆ ก็จะราบรื่นไม่ติดขัด

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระหูยาน ลพบุรี


พระหูยาน ลพบุรี (กรุเก่า) พิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์
พระหูยาน ลพบุรี จัดอยู่ ๑ ใน ๕ ของพระยอดขุนพลเมืองละโว้ อันประกอบไปด้วย ๑.พระร่วงหลังลายผ้า ๒.พระหูยาน ๓.พระยอดขุนพล ๔.พระนารายณ์ทรงปืน ๕.พระนาคปรก สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงใช้เมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นศูนย์กลางในการบัญชาการ และบริหารกิจการบ้านเมือง
พระหูยาน ลพบุรี มีการขุดพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก เป็นพระพิมพ์เนื้อชิน พุทธลักษณะองค์พระประธานปางมารวิชัย ประทับนั่งบนกลีบบัวแบบชั้นเดียวและสองชั้น พระเกศเป็นรูปบัวตูม พระพักตร์คว่ำแสดงถึง พระญาณอันแก่กล้า อันเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของขอม พระกรรณ (ใบหู)ยาวจดพระอังสา(บ่า) ผู้ขุดพบครั้งแรกจึงเรียกว่า "พระหูยาน"

พระหูยาน ลพบุรี สร้างเมื่อสมัยขอมยังเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เมื่อประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว สมัยนั้นพระองค์ทรงใช้เมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นศูนย์กลางในการบัญชาราชการงานบ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ ดังนั้นวิทยาการทั้งหลายแหล่ของขอมล้วนมีกำเนิดที่เมืองละโว้ ทั้งสิ้น


พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงจากฐานถึงยอดสุดประมาณ 5.5 ซ.ม. พระหูยาน พิมพ์กลาง และพระหูยาน พิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา

 พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 เราเรียกว่า "พระกรุเก่า" ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า "พระกรุใหม่" ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน เสมือนหนึ่งเป็นคำประกาศยืนยันถึงความเก่าแก่ของอายุขัย พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับ พระพุทธรูปบูชาซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิม จะเป็นสีเขียว "คราบเขียวของพระพุทธรูปบูชา" นี้ได้ลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย จึงกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินเขาใช้ประกอบในการพินิจ พิจารณาพระหูยานกรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี มีพุทธคุณเป็นเลิศ ทางด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


ลิงแกะ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว

ลิงแกะเครื่องรางของขลัง ของหลวงพ่อดิ่ง พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง  วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา

ส่วนมากที่พบเจอและมีชื่อเสียงอันหายากแล้วคือ "ลิงจับหลัก"

"ลิงไม้แกะหลวงพ่อดิ่ง" นี้ นับว่าทรงคุณค่าต่อการสะสม เนื่องด้วยเป็นของเก่าแก่และพุทธานุภาพทางคงกระพันชาตรี ปัจจุบันค่อนข้างหาดูยาก

แต่ตัวนี้เป็นงาแกะมีรอยจารของยันต์หลวงพ่อดิ่งอันเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของหลวงพ่อ พิจารณาจากความเก่าของสีเนื้องา การแตกลายงา ความมันวาวหรือฟิลม์ และธรรมชาติอื่นๆประกอบซึ่งปลอมแปลงกันยากครับ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ
 พระปิดตาของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี ถือว่าเป็นพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดชลบุรีหรือจะว่าเป็นพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยมสูงสุดของประเทศก็ว่าได้

องค์นี้เป็นพิมพ์มาตรฐาน  (เนื้อผงคลุกรัก) ออกดำ สภาพสวยแชมป์ เท่าที่ผมพบเจอจะออกสีดำและออกสีน้ำตาล บางองค์ลงรักปิดทอง ทองเก่าเนื้อจะออกสีแดงอมเหลืองและด้าน ไม่เหมือนกับทองใหม่ซึ่งจะเป็นมันวาว องค์นี้เก๊าเก่าดูเป็นธรรมชาติ หากใครที่คิดจะหาเช่า พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วขอให้ศึกษาข้อมูลหน่อยนะครับ เพราะปลอมเยอะ จากคำบอกเล่าของในพื้นที่ที่มีอายุ เล่ากันว่าสร้างจำนวนไม่มาก แต่ระบุจำนวนไม่ได้  สุดยอดพระปิดตาอันดับหนึ่งของประเทศไทย พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เนื้อผงคลุกรัก นับเป็นราชาแห่งพระปิดตาเนื้อผงด้วยกัน ซึ่งคงเนื่องมาจากความหายาก และกิตติศัพท์เรื่องอำนวยโชคลาถและเมตตามหานิยม จึงเป็นที่เสาะแสวงหาของบุคคลทั่วไป.

พระองค์นี้ข้าพเจ้าหวงแหนมากและได้เก็บรักษาไว้นานแล้วเนื่องจากได้รับตกทอดมา
ขนาด สูง กว้าง 2.2 cm
ใครคิดจะนิมนต์ ติดต่อมาได้นะครับ!

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

    องค์นี้พึ่งได้มาครับเป็น พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ผ่านการล้างคราบรักโดยฝีมือช่างระดับครู ทำให้คงสภาพและพิมพ์ทรงคงเดิมเอาไว้ บรรยายโดยภาพแล้วกันนะครับ (มรดก)
พิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์พระทั้งหมด องค์นี้แตกลายงาชัดเจนตามสูตรวัดระฆัง ดูการแตกลาย การหดเหี่ยว ยับ ยุบ ย่น รูพรุน รูเข็ม เป็นหลุม บ่อ อยากให้ศึกษามวลสารของพระสมเด็จ เช่นจุดดำ จุดแดง เม็ดพระธาตุ ก้านธูป เศษพระเก่า ข้าวสาร ฯลฯ วิเคราะห์กันเองนะครับ

พระสมเด็จวัดระฆัง สุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องไม่ว่ารุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ก็ว่าได้
มีเงินไร้วาสนา-ไม่มีสิทธิครอบครอง (เพราะถ้ามีเงินอย่างเดียว อาจมีสิทธิได้ของปลอมไปครอบครอง)

หลักการดูพระสมเด็จวัดระฆัง แบบพื้นฐานต้องจำพิมพ์ให้แม่นว่ามีกี่พิมพ์ ดูองค์แท้บ่อยๆทำการเปรียบเทียบสมเด็จอื่นๆ เพื่อหาจุดต่างๆ ดูเนื้อหาและมวลสารส่วนผสมขององค์พระ ส่วนพระพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ มีจุดสังเกตพื้นฐาน เช่น เส้นบังคับพิมพ์มาตราฐานจากด้านองค์ซ้ายของพระเริ่มจากมุมบนซ้ายวิ่งลงมาประสานเป็นเนื้อเดียวกับเส้นซุ้มในจุดระดับกลางองค์พระใกล้จุดหักศอก ฐานสิงห์ชั้นกลางปรากฏเป็นเส้นฐานคมชัดเจนทั้งสองด้าน เนื้อนอกซุ้มกับในซุ้มไม่เท่ากัน

 ปัจจุบันมีค่านิยมสภาพสมบูรณ์ว่ากันองค์ละหลายล้าน

วิธีบูชา พระสมเด็จวัดระฆัง เพื่อให้เกิดพุทธคุณสูงสุด ควรปฏิบัติดังนี้

อานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง
ผู้ที่มีจิตใจที่ดี บริสุทธิ์ผ่องใส จะได้รับอานุภาพที่ดี จากพระสมเด็จ

1. บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในกิจการงาน และความผาสุขของชีวิต
ผู้มีติดตัวไว้ จะทำให้เกิดโภคทรัพย์

2. คุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ให้แคล้วคลาดจากภัย ทั้งหลายทั้งปวง เฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน
ผู้ทำมาหากินด้วยแรงกาย แรงสติปัญญา ในทำนองครองธรรม ในทางตรงกันข้าม พวกมิจฉาชีพดำรง
ชีวิตด้วยความเดือดร้อนของบ้านเมืองและประชาชน ตลอดจนถึงการขัดต่อศีลธรรม อันดีงาม
แม้มีพระสมเด็จไว้ครอบครอง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือ ก็จะไม่พบความสุข
หาความเจริญที่ยั่งยืนให้แก่ชีวิตได้ยาก

 วิธีอาราธนา พระสมเด็จวัดระฆัง
ตั้งนะโม ๓จบ ระลึกถึง เจ้าประคุณพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
หากสวดคาถาชินบัญชร บทเต็มได้ ควรสวด ๑จบ หรือหากมีเวลาน้อย ให้สวดบทย่อ ๑๐จบ มีดังนี้
" ชินะปัญชะระปะริตัง  มังรักขะตุสัพพะทา " ก่อนที่จะนำ พระสมเด็จติดตัวไป ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

- ท่องคาถาแสดงความเคารพต่อองค์พระสมเด็จ
เมื่อยกสร้อยขึ้นจะคล้องคอ องค์พระอยู่ในอุ้มมือ พนมมือแล้วท่องคาถา อาราธนาดังต่อไปนี้
" โอมมะศรี มะศรี พรหมรังสี นามะเตโช มหาสมโณ มหาปัญโญ
มหาลาโภ มหายะโส สัพพะโสตถี ภะวันตุเม "

- เมื่อจบแล้ว ให้ท่องคาถา ขอโชคลาภ ว่า
"ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิ กาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะยัง สุตวา"

- เมื่อคล้องคอแล้ว ท่องคาถา คุ้มครองชีวิต ให้แคล้วคลาดปลอดภัยว่า
" อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อรหังสุคโต นะโมพุทธายะ "

หากทำได้เช่นนี้ทุกวัน ชีวิตท่านจะเกิดมงคล จักพบแต่ความสุขความเจริญ และนิรันตรายทั้งปวง.



โชว์ของสะสม
พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์

พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่





วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

พระรอดลำพูน กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
ประวัติพระรอดลำพูน
เป็นพระเครื่องชั้นหนึ่งในชุดเบญจภาคีของจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในสมัยทราวดีซึ่งมีอายุนับพันปีมาแล้ว ตำนานการสร้าง ตามตำนานกล่าวว่าพระวาสุเทพฤาษี กับพระสุกกทันตฤาษีได้สร้างเมืองหิริภุญชัยนครขึ้นแล้ว ปัจจุบันเรียกว่าเมืองลำพูน ได้แต่งทูตให้ลงมากราบบังคมทูลอนเชิญพระนางจามเทวีราชธิดากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ (ลพบุรี) ให้ขึ้นไปครองเมือง ต่อมาพระนางจามเทวีจึงได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัยนคร
ตามความต้องการของฤาษีทั้งสอง ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม ยังความผาสุขให้เกิดขึ้นแก่อาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างมาก เป็นที่โทมนัส ยินดีแก่พระวาสุเทพฤาษีกับพระสุกกทันตฤาษีเป็นอันมาก ฉะนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีและบุญญาธิการของพระนางจามเทวี ให้ปรากฏเป็นเกียรติคุณแก่โลก พระฤาษีทั้งสอง อันมีพระฤาษีนารอด จึงได้พร้อมใจกันสร้างพระพุทธประติมากรรมขนาดเล็ก ๆ ขึ้นถวายพระนางจามเทวี ด้วยการประจุด้วยอำนาจพุทธมนต์และญาณสมาบัติ ๘ (วิชาแปดประการ)ที่ตนได้บำเพ็ญสำเร็จมา และเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนาให้เจริญยิ่งต่อไป เพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังในภายภาคหน้าอีกด้วย

พระรอด

 พระรอดกรุวัดมหาวัน เป็นพระเครื่องที่ขึ้นชื่อลือชา ผู้คนแสวงหามาครอบครองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่มีอายุมากที่สุด และราคาค่างวดในตลาดพระเครื่องสูงระดับล้านขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่ว่าอยู่ในมือใคร ถ้าอยู่ในมือเซียนก็มีราคาไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โปรดศึกษาให้รู้และเข้าใจ แล้วแสวงหาของจริงของแท้ ซึ่งอาจซื้อหาได้ในราคาบ้านๆเท่านั้น อย่าเชื่อถือหนังสือเป็นมาตรฐานนัก เพราะคนทำหนังสือพระเครื่องขายก็ต้องการโปรโมทพระของตนเอง ของจริงของแท้อาจมีราคาหลักพันก็ได้ ซึ่งแล้วแต่บุญวาสาของใครของมัน แต่ถ้าเลื่อมใสจริงจัง ขอให้เป็นรูปพระก็ใช้ได้ทั้งนั้น ถ้าเราเลื่อมใสเคารพบูชาอย่างจริงัง เทพเทวาผู้ศักดิ์สิทธิ์ก็มาสิงสถิตย์ทำให้เป็นพระที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมาได้

รูปพระรอดที่นำมาแสดงไว้เป็นของจริง แต่อย่าเอาขนาดเป็นมาตรฐาน เพราะการถ่ายไม่เหมือนกัน และตบแต่งภาพไม่เหมือนกัน ผู้เขียนไม่ได้ละเอียดพิถีพิถันถึงขั้นจะทำให้พระทุกองค์มีขนาดที่เหมือนจริง แต่รูปลักษณ์นั้นเป็นของจริงแท้แน่นอน เพียงปรับให้มีขนาดเท่ากันทุกองค์ แต่บางองค์มีพื้นสีเดิมติดมาด้วย ทำให้องค์พระเล็กกว่าความเป็นจริง

พระรอดลำพูน มีพบที่กรุวัดมหาวันเท่านั้น เป็นศิลปะทวารวดี-ศรีวิชัย เป็นพระดินเผาทั้งสิ้น มีด้วยกันทั้งสิ้น 6 พิมคือ พระรอดพิมพ์ใหญ่, พระรอดพิมพ์กลาง, พระรอดพิมพ์เล็ก, พระรอดพิมพ์ต้อ, พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง ซึ่งพิมพ์สุดท้ายหาได้ยากที่สุด


พระอธิการทา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษี และพระอาจารย์บุญธรรม วัดพราตุหริภุญชัย ได้บันทึกไว้ว่า

ปี พ.ศ. 2435 ตรงกับสมัยของเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ในสมัยรัชกลาลที่ ๕ พระเจดีย์ของวัดมหาวันได้ชำรุดและพังลงบางส่วน ทางวัดจึงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในการรื้อบางส่วนได้พบพระรอดจำนวนมาก เมื่อบูรณะเสร็จแล้วจึงบรรจุไว้ตามเดิม

ปี พ.ศ.2451 ฐานพระเจดีย์ชำรุด จึงทำการบูรณอีก ได้พบพระรอดจำยนวนมาก จึงนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและประชาชนจำนวนมาก และเรียกพระรอดชุดนี้ว่า พระรอดกรุเก่า (เจ้าหลวงได้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ถวายแก่เจ้านายระดับสูงหลายพระองค์ เจ้านายวังหน้า มีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ได้นำไปฝังไว้ที่ด้านหลังพระเครื่องที่พระองค์และเหล่าเจ้านายทรงสร้าง มีพระสมเด็จโต และพระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน เป็นต้น )

ปี พ.ศ.2498 ขุดพบพระรอดบริเวณหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิ ประมาณ 300 กว่าองค์

ปี พ.ศ.2506 ทางวัดได้รื้อพื้นพระอุโบสถ พบพระรอดประมาณ 300 กว่าองค์ ต่อมาภายหลังก้มีการขุดพบเรื่อย ๆ แต่ไม่มากนัก รวมเรียกพระรอดกรุใหม่

ปี พ.ศ.2513-14 ทางวัดทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ จึงมีการประมูลให้ขุดค้นหาพระรอด เพื่อหาเงินมาสร้างพระอุโบสถ โดยมีกฎเกณฑ์การประมูลว่า ค่าประมูลขุด 4 ตารางเมตร ราคา 170,000 บาท ให้เวลา 4 ชั่วโมง ผู้ขุดจะได้หรือไม่ได้ ทางวัดก็ได้เงินจำนวนนั้น พ.ท.สมเกียรติ ซึ่งเป็นบุตรชายของบริษัทสยามฟาร์ม ซึ่งมีฐานะระดับเศรษฐีระดับต้น ๆ ของเมืองไทยสมัยนั้น ได้เข้าร่วมประมูลด้วย พ.ท.สมเกียริย์ได้ใช้สว่านเจาะลงไปตามแผ่นหินศิลาแลง บริเวณรอบฐานเจดีย์ แล้วงัดขึ้น ๆ จนขุดลงไประดับลึก พบพระรอดพิมพ์ต้อจำนวนหนึ่ง ได้มา 900 กว่าองค์ พระเหล่านี้ถูกน้ำอันมีส่วนผสมของแร่เหล็กซึมซับเกาะติด จนกลายเป็นแร่เหล็กสีดำเกาะแน่น เมื่อ พ.ท.สมเกียรติได้มารู้จักกับสันยาสี จึงนำพระรอดพิมพ์ต้อมามอบให้จำนวนหนึ่ง 70 องค์ พร้อมพระรอดพิมพ์อื่น ๆ อย่างละองค์สององค์ พระรอดพิมพ์ต้อนี้สร้างขึ้นเป็นรุ่นแรกในสมัยท่านฤาษีนารอด อันเป็นพระอาจารย์ของพระนางจามเทวี เมื่อสร้างเสร็จก็บรรจุไว้ในอุโมงค์ใต้เจดีย์วัดมหาวัน กาลเวลาผ่านไปมากกว่าพันปี อุโมงค์ก็ยุบลง พระรอดจำนวนมากก็ถูกอัดติดกันอยู่ใต้ดินบริเวณฐานและรอบพระเจดีย์ พระรอดเหล่านี้ก็เรียกพระรอดกรุใหม่ แท้จริงก็เป็นกรุเก่าทั้งนั้น

สีของพระรอด
นั้นมีอยู่ ๕ สีด้วยกัน
๑. พระรอดสีขาว
๒. พระรอดสีเขียว
๓. พระรอดสีเหลือง
๔. พระรอดสีแดง
๕. พระรอดสีดำ

ส่วนพิมพ์นั้นแบ่งออกได้ ๕ พิมพ์ด้วยกันคือ
๑. พระรอดพิมพ์ใหญ่
๒. พระรอดพิมพ์กลาง
๓. พระรอดพิมพ์เล็ก
๔. พระรอดพิมพ์ต้อ
๕. พระรอดพิมพ์ตื้น

สีและพระพุทธคุณ
พระรอดสีขาว มีอนุภาพในด้านก่อให้เกิดความรักเมตตา. และแคล้วคลาด
พระรอดสีเขียว มีคุณานุภาพ ในการเดินป่า ป้องกันภูตผีปีศาจ และสัตว์ร้าย
พระรอดสีเหลือง มีคุณานุภาพในทางเมตตามหานิยม (ในทางค้าขาย)
พระรอดสีดำ มีคุณานุภาพ ในทางคงกระพันชาตรี

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ม้าเสพนาง

ผ้ายันต์ม้าเสพนาง (ยุคต้น) ครูบาวัง สร้างประมาณปี 2490-2500

ผ้ายันต์แห่งเมตตามหาเสน่ห์อันดับ1ของเมืองไทยก็ว่าได้ ที่โด่งดังคงต้องยกให้ ม้าเสพนาง ของท่านครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก ผ้ายันต์ม้าเสพนางของท่านขึ้นชื่ออย่างมากทางด้านมหาเสน่ห์ เป็นที่เสาะแสวงหากัน ของแท้มีน้อยมากเพราะในการสร้างแต่ละครั้ง ไม่ได้สร้างกันครั้งละมาก ๆ แต่จะสร้างให้เฉพาะเป็นรายบุคคลที่มาขอท่านโดยตรงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นยุคปลายที่ปั๊มจากแท่นสกีนก็จะมีมากขึ้นมาหน่อย ผ้าที่ใช้ในการสร้างผ้ายันต์ ยุคต้น และยุคกลาง ก็จะต้องเป็นผ้าดิบที่ผ่านการห่อศพมาแล้ว (ในตำราระบุว่าต้องเป็นผ้าคลุมศพหรือผ้าคลุมโลงศพเท่านั้น ถึงจะเข้มขลังสุดๆ) เป็นสูตรอย่างหนึ่งในการทำผ้ายันต์ของท่าน โดยนำมาวาด ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกในคืนจันทร์เพ็ญ สูตรมหาเสน่ห์ม้าเสพนางที่นุ่มนวลล้ำลึกแต่เวลาใช้กลับร้อนแรง ไร้เทียมทาน ผ้ายันต์เขียนมือนี้ ถือเป็นผ้ายันต์ยุคกลางของท่าน ถ้าเป็นยุคต้น ๆ จะวาดและเขียนด้วยดินสอ ขนาดของผ้ายันต์ผืนนี้ ประมาณ 1ฟุตกว่า x 1ฟุตกว่า สภาพสวยสมบูรณ์ ทำจากผ้าดิบที่ได้มาจากการห่อศพ หายากมาก คนในพื้นที่ห่วงกันมาก รุ่นที่นิยม มีเพียง 3รุ่นเท่านั้น รุ่นแรกใช้ดินสอ  รุ่นสองใช้ปากกา รุ่นสามสกรีน(ยุคปลายของหลวงพ่อแล้ว)  ของปลอมเยอะมาก ดังนั้นผู้ที่คิดจะมีไว้ต้องศึกษาหน่อยนะ เพราะรุ่นปลายหลวงพ่อหามาตรฐานไม่ได้เรย  นอกจากนี้ยังมีผ้ายันต์ที่มีอานุภาพแรงมากไม่แพ้กันคือ ผ้ายันต์พญาอิ่นแก้ว และ ผ้ายันต์พญาเขาคำ และอื่นๆ ว่างๆจะถ่ายรูปของจริงมาให้ดูกันครับ

สุดยอดผ้ายันต์ม้าเสพนางที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่ีงแห่งแดนล้านนา นับวันราคายิ่งแพงขึ้นทุกขณะ ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาวังผืนนี้เขียนมือผืน การสร้างผ้ายันต์ในยุคนี้หลวงพ่อท่านจะลงจารอักขระ และเขียนแบบพร้อมกับ บริกรรมคาถากำกับ ทุกตัวครับ ครบสูตรสำหรับแจกให้กับลูกศิษย์ พุทธคุณทุกด้านครับ มหาอำนาจเมตตา บารมี มหาเสน่ห์ ใช้ในด้านค้าขายยิ่งดี ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใครที่นำไปบูชาขอให้ศรัทธาจริงฯครับรับรองครับว่ามีประสบการณ์กับตัวเองแล้วจะรู้สึกได้ครับว่าพุทธคุณของหลวงพ่อท่านเข้มขลังจริงคับผม

ใครมีไว้รับรองชีวิตท่านจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นทุกอย่างทั้งโชคลาภ เงินทอง หน้าที่การงาน ไปได้แบบสุดๆอย่างน่าอัศจรรย์

ม้าเสพนาง พุทธคุณโดดเด่นมาก สุดยอดเสน่ห์เมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขาย วาสนาบารมี


ผ้ายันต์ ม้าเสพนาง ครูบาวัง

 ทุกผืนเขียนด้วยมือด้วยปากกา ม้าเสพนาง (ยุคต้น)


ผ้ายันต์ม้าเสพนาง ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก


ม้าเสพนาง สีคล้ายจีวรพระ (ผ้าย้อม) หายากสุด
ม้าเสพนาง สีคล้ายจีวรพระ (ผ้าย้อม) หายากสุด












ผ้ายันต์ม้าเสพนาง



วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553



ครูบาวัง พรหมเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น ต.หนองบัวเหนือ อ.เมือง จ.ตาก
เป็นพระเถระที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติครบถ้วนในสมณสารูป มีความเมตตากรุณาแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยท่านได้สร้างวัดบ้านเด่นตั้งแต่ยังเป็นป่าดง จนกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง มีผู้รู้จักกว้างขวางอย่างที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้สร้างพระเครื่องรางของขลังจนเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ลูกหาว่าเป็นของดีที่มีคุณค่า ท่านถือกำเนิดที่บ้าน ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ย. 2434 ปีเถาะ เป็นบุตรของเจ้าคำปวน และเจ้าบัวเงา ณ ลำพูน บิดามารดาเป็นเชื้อสายเจ้าภาคเหนือ แต่ครอบครัวของพ่อยึดอาชีพค้าขายทำไร่ทำนาตลอดมา มำพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน เป็นชาย 4 หญิง 4 ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น " แก้วมหาวงศ์ "

เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดบ้านเหมืองจี้ จนกระทั่งอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2455 ณ วัดบ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระกันธิยะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปั๋น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการปุ้ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า " พรหมเสโน"

หลังอุปสมบทแล้วได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ โดยครั้งแรกได้ธุดงค์ไปช่วยสร้างวัดต้นธงชัย อ.แม่พริก จ.ลำปาง จนได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ 4 พรรษา ต่อจากนั้นได้ธุดงค์ไปช่วยสร้างวัดสองแคว อ.เมือง จ.ตาก อีก 2 พรรษา และได้เป็นเจ้าอาวาสเช่นกัน หลังจากนั้นจึงได้มาสร้างวัดบ้านเด่น

ในจำนวนเวลาที่เดินธุดงค์ 12 ปีนั้น มีอยู่ 2 ปีที่ท่านได้ธุดงค์ไปเมืองย่างกุ้งเพื่อเรียนภาษาพม่า และได้เรียนเวทย์มนต์คาถาที่เป็นภาษาพม่าจนมีความชำนาญอย่างดี จึงเดินทางกลับเมืองไทย ในระหว่างทางได้พบป่าแห่งหนึ่งชื่อ " ป่าเด่นกระต่าย " ซึ่งมีความร่มเย็นน่าอยู่อาศัย และมีหมู่บ้านที่ห่างไกลและยากจน จึงคิดสร้างวัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลชาวบ้านในการประกอบ

พิธีกรรมทางศาสนา เริ่มแรกท่านได้สร้างกุฏิมุงหลังคาด้วยไม้แฝกก่อน 3 หลัง ซึ่งนับเป็นสำนักสงฆ์ที่แห้งแล้งยังไม่มีอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว ต่อมาประชาชนในต.หนองบัวเหนือ อ.เมือง จ.ตาก ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สร้างวัดบ้านเด่น ได้มองเห็นความจำเป็นของพระสงฆ์ที่ทนทุกข์ยากลำบากในเรื่องความเป็นอยู่ และอาหารการกิน จึงสละแรงกายแรงใจช่วยกันคนละไม่คนละมือร่วมกับพระสงฆ์สามเณร จนได้ศาลาไม้เก่าขึ้นมาหนึ่งหลัง และให้ชื่อว่า " วัดบ้านเด่น " ตามสถานที่ตั้งวัดซึ่งเป็นป่าเด่นกระต่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป่าแห่งนี้

ทั้งนี้ ก่อนที่วัดบ้านเด่นจะมีชื่อเสียงเด่นสมชื่อสมความปรารถนาของครูบาวัง วัดแห่งนี้ได้รับความอุปถัมภ์จากปลักอำเภอเมืองตาก และครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป ปลัดอำเภอท่านนั้นก็คือ " ขุนโสภิต " บิดาของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อครูบาวัง ซึ่งได้มอบตัวเป็นศิษย์และเป็นผู้บริจาคทรัพย์ร่วมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก ครูบาวังท่านเป็นเจ้าอาวาสผู้ถือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาโดยตลอด ได้บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสาธุชนผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมาด้วยความเมตตาปรานี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ทุกหมู่เหล่า โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใดๆ จนมีศิษยานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ

เครื่องรางของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในภาคเหนือ และมีประสบการณ์ความศักดิ์เข้มขลังก็คือ ?ตะกรุด? ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ตะกรุด 5 ดอก,9 ดอก,108 ดอก,ตะกรุดจำปาสี่ต้น,ตะกรุดคลอดลูกง่าย,ตะกรุดแหนบใบพลู และสีผึ้งน้ำมนต์ ,ชานหมาก และเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี2506 นอกจากนี้

ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องรักษาไข้และโหราศาสตร์ รวมทั้งมีพรพิเศษอีกประการหนึ่งคือ ท่านสามารถนั่งเทียนสะเดาะเคราะห์ เทียนให้โชคลาภ หรือนั่งเทียนเพื่อให้ชนะคดีความยามขึ้นโรงขึ้นศาล และในเรื่องอื่นๆ

วาระสุดท้ายแห่งชีวิต ครูบาวังได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2516 เวลา 24.00 น. ณ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ด้วยวัย 82 ปี พรรษาที่ 62 โดยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น 56 พรรษา

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขอโชว์นะครับ พระเชียงแสน สิงห์สาม แปดนิ้ว แท้เก่าชัวร์  ชมเพื่อการศึกษานะครับ
ยังไม่คิดจะขายนะครับ แต่ถ้าได้นิ้วละแสน ก็ไม่แน่



ในประเทศไทยนั้นมีพระพุทธรูปมากมายหลายแบบหลายสมัย ซึ่งแต่ละแบบแต่ละสมัยก็จะมีความแตกต่างทางศิลปะตามอิทธิพลของถิ่นกำเนิดและศิลปะต้นแบบ "พระพุทธรูปเชียงแสน" เป็นพระพุทธรูปอีกศิลปะหนึ่งที่สำคัญและมีต้นกำเนิดจากทางภาคเหนือครับผม

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ภาคเหนือของประเทศไทยเคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันกว้างใหญ่ชื่อว่า "อาณาจักรเชียงแสน" ในราวรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแผ่อำนาจเข้ามาปกครองเมืองเชียงแสน พระองค์ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) อย่างพุกามเข้ามาเผยแผ่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานที่เข้ามาทางประเทศอินเดียฝ่ายเหนือผ่านมอญและพม่า

อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง การสร้างพระพุทธรูปจึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละ ซึ่งมีพุทธลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีทำเป็นแบบดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาทำเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ นิยมสร้างเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และปรากฏพระบาททั้งสองข้าง และตั้งชื่อพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ว่า "พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน" เชื่อกันว่าเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ของไทย

"พระพุทธรูปเชียงแสน" ไม่ได้มีจำกัดอยู่เฉพาะที่เมืองเชียงแสนเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบข่ายออกไปถึงเมืองเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน และเลยเข้าไปยังเมืองหลวงพระบางและนครเวียงจันทน์ ด้วยพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้เข้ามามีอำนาจอยู่ในนครเชียงใหม่ช่วงระยะหนึ่ง และกวาดต้อนชาวเชียงใหม่ที่มีฝีมือในการสร้างพระพุทธรูป ไปสร้างพระพุทธรูปในเขตเมืองหลวงพระบางและเมืองเวียงจันทน์ จึงได้เกิดเป็นพุทธรูปศิลปะอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "พระเชียงแสนลาว" หรือ "พระพุทธรูปแบบเชียงแสนนอกเมือง" มีอายุเทียบได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประมาณอายุใกล้เคียงกับ "พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ 3" หรือสมัยอยุธยา ยังมีการค้นพบในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยทั่วไป ซึ่งเป็นต้นแบบฝีมือสกุลช่างปั้นพระพุทธรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสมัยต่อมา พระพุทธรูปเชียงแสนยังได้รับอิทธิพลและแบบอย่างจากพุทธศิลปะประเทศลังกา ซึ่งเผยแผ่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย เกิดเป็นพุทธศิลปะอีกแบบหนึ่งเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์"

สรุปว่าพระพุทธรูปเชียงแสนนั้น มีมาก มายหลายสกุลช่าง และได้มีการสืบสานการสร้างตลอดมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี พุทธลักษณะหลักมีดังนี้ พระเกศทำเป็นพระเกศบัวตูม พระศกทำเป็นขมวดก้นหอย และเม็ดพระศกค่อนข้างเขื่อง พระพักตร์อวบอูมดูสมบูรณ์ และปรากฏรอยยิ้มเล็กน้อย พระเนตรเป็นแบบเนตรเนื้อ (ไม่ฝังมุก) พระหนุเป็นรอยหยิก พระวรกายอวบอ้วนสมบูรณ์ ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวนมและแตกเป็นปากตะขาบ ซึ่งจะเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1" ถ้ายาวเลยราวนมลงมาเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 2" และสุดท้ายถ้ายาวลงมาจรดพระหัตถ์ จะเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 3" ครับผม


องค์นี้พึ่งได้มาเมื่อเดือนตุลา 2553 ขนาด สองนิ้วครึ่ง สภาพเดิม เก่าเก็บ ดินเดิมยังอยู่หายากมากเนื้อนี้ "พระเชียงแสน สิงห์หนึ่ง สนิมหยก"