แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระบาง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระบาง แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระบาง ลําพูน

พระบาง

พระบาง กรุเก่า



พระบาง ลําพูน (กรุเก่า)

ศิลปการช่างเป็นแบบช่างหลวงหริกุญชัย อายุการสร้างประมาณ 1200 ปีมาแล้ว ส่วนองค์ประกอบพระเป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฎให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะ พระคงกับพระบาง เป็นพระที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากเข้าใจว่าเป็นพระฝีมือช่างเดียวกัน ต่างกันที่แม่พิมพ์

"พระบาง" หนึ่งในพระสกุลลำพูนซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระคง" มาก แต่จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมือน "พระรอด" ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ หรือที่เรียกกันว่า "มารยาหญิง" ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นการสร้างมาสำหรับผู้หญิงครับ

ด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์

เสน่ห์นั้นต้อง พระบาง
พระสกุลลำพูน ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านร้อยแปด และผงแร่ธาตุ  เนื้อดินมาจากใจกลางเมือง และมุมเมืองที่สำคัญ สร้างในสมัยเจ้าแม่จามเทวีที่ครองเมืองยุคแรกๆ เพื่อเป็นคติที่จะสร้างความร่มเย็น และมั่นคงแก่นคร

พระลำพูนเนื้อที่ละเอียดที่สุดคือ เนื้อพระรอด เพราะสร้างขึ้นด้วยดินผสมว่าน ส่วนมากเป็นดินหรดาน ( สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม) เนื้อละเอียดมาก มีความแข็งแกร่งสูงเพราะเผานานเจ็ดวันเจ็ดคืน เนื้อจึงแกร่งมาก  พระคง พระบาง พระเลี่ยง จะมีส่วนของว่านและแร่ดอกมะขามผสมอยู่ จึงมีสีแร่แดงๆกระจายไปทั่วเนื้อพระ ให้เห็นได้ชัดๆ เนื้อเนียน แร่ไม่ลอย   สำหรับพระลือ จะพบว่ามีแร่มากเพิ่มขึ้นมาอีกเพราะจะเน้นด้านอิทธิฤทธิ์ จึงหยาบกว่าพิมพ์อื่นๆ แต่สำหรับพิมพ์ที่เนื้อหยาบที่สุดคือ พระลบ ซึ่งมีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดและแร่พลอยทับทิม ซึ่งเมื่อเอียงดูด้วยกล้องขยายและทำมุมแสงให้ดี จะพบว่ามีแร่ทับทิม และแร่ทรายเงินทรายทองปรากฏเด่นชัด และเนื้อจะเป็นสีแดงด้วยสีของว่าน

อิทธิฤทธิ์ และพุทธคุณ เท่าที่เล่าสืบต่อกันมา จะทำให้ทราบว่า เนื้อพระมีส่วนที่ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ เช่น พระคงจะเด่นด้านคงกระพัน  พระบางซึ่งละเอียดกว่าจะเด่นเรื่องเมตตาโชคลาภ พระเลี่ยงจะเด่นเรื่องพ้นจากภัยภิบัติต่างๆ  พระลบ จะเด่นเรื่องคงกระพันและล้างสิ่งชั่วร้าย  พระลือ เด่นด้านการปกครองและอำนาจ สำหรับพระรอด จะเด่นเรื่องคลาดแคล้วจากภัยอันตรายทั้งปวงและโชคลาภ

การดูพระสกุลลำพูน ให้ดูเนื้อพระเป็นหลัก เนื้อพระกรุลำพูน จะเนียนนุ่ม ละเอียด ต่างจากพระใหม่ที่ผิวแห้งผาก หยาบ มีรูผิวพรุน เนื้อพระลำพูนซึ่งผ่านน้ำ ความชื้นจากกรุมาเป็นพันปี จะให้ความแห้งเนียน ปรากฏดินคราบกรุแม้นจะผ่านการล้างทำความสะอาดแต่เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นดินนวล (สีเหลืองอ่อนๆติดฝังลึกอยู่ในผิว และซอกพระ รูพรุนจะถูกแทนที่ด้วยครบดินนวล จึงทำให้ดูนุ่มเนียน แม้นพระปลอมจะทำเนื้อโดยนำไปคลุกคั่วกับไขหรือขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวดูนุ่มและไม่แห้งผาก มีการนำไปขัดด้วยใบตองแห้งให้มันวาว ก็ไม่ทำให้เกิดความหนึกนุ่มคล้ายพระเก่า เมื่อดูเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัด ดังนั้น ครูที่ดีที่สุดคือเนื้อพระเก่า และพระปลอมที่ทำได้ชนิดว่าดีที่สุด แล้วมานั่งแยกที่ละน้อยเรียนรู้กับการดูเนื้อ ท่านก็จะดูพระลำพูนเป็น

อีกอย่างหนึ่งคือ เส้นสายลายพิมพ์ ของพระ เส้นซุ้ม ก้านโพธิ์ ใบโพธิ์ จะเป็นลายนูนเห็นเด่นชัด ไม่ลบเลือน แม้นพระนั้นจะมีสภาพสึกก็ยังมีร่องรอยของเส้นสายอยู่ ขอบมุมของเส้นสาย จะคม มน กลม ละเอีดยแม้นพระปลอมรุ่นใหม่จะถอดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่แม่พิมพ์ไม่หดตัว แต่เส้นสายอาจมีผิดเพี้ยนด้านการกด และที่สำคัญแม้นเนื้อหาจะมีส่วนผสมที่นำดินเก่ามาบดอัดขึ้นรูป ก็หาความละเอียด เนียน และคราบนวลของกรุไม่เจอ แม้พวกมือผีจะพยายามทำคราบกรุ แต่ก็เพียงเหมือเอาไปคลุกดิน คราบบางทีหนาเตอะ ราดำที่ทำด้วยหมึกจีน หรือหมึกคอมที่ทนน้ำ ก็เป็นคราบจุดๆเหมือนโดนสลัดด้วยพู่กัน ไม่เหมือนคราบราดำจริงที่เกิดจากซอกพระและจากเนื้อผิวด้านในกระจายสู่ด้านนอกมีรากฝังลึก และแตกเป็นเส้นเห็นชัดด้วยกล้อง...