แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กรุเก่า แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กรุเก่า แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระบาง ลําพูน

พระบาง

พระบาง กรุเก่า



พระบาง ลําพูน (กรุเก่า)

ศิลปการช่างเป็นแบบช่างหลวงหริกุญชัย อายุการสร้างประมาณ 1200 ปีมาแล้ว ส่วนองค์ประกอบพระเป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฎให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะ พระคงกับพระบาง เป็นพระที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากเข้าใจว่าเป็นพระฝีมือช่างเดียวกัน ต่างกันที่แม่พิมพ์

"พระบาง" หนึ่งในพระสกุลลำพูนซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระคง" มาก แต่จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมือน "พระรอด" ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ หรือที่เรียกกันว่า "มารยาหญิง" ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นการสร้างมาสำหรับผู้หญิงครับ

ด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์

เสน่ห์นั้นต้อง พระบาง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระหูยาน ลพบุรี


พระหูยาน ลพบุรี (กรุเก่า) พิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์
พระหูยาน ลพบุรี จัดอยู่ ๑ ใน ๕ ของพระยอดขุนพลเมืองละโว้ อันประกอบไปด้วย ๑.พระร่วงหลังลายผ้า ๒.พระหูยาน ๓.พระยอดขุนพล ๔.พระนารายณ์ทรงปืน ๕.พระนาคปรก สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงใช้เมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นศูนย์กลางในการบัญชาการ และบริหารกิจการบ้านเมือง
พระหูยาน ลพบุรี มีการขุดพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก เป็นพระพิมพ์เนื้อชิน พุทธลักษณะองค์พระประธานปางมารวิชัย ประทับนั่งบนกลีบบัวแบบชั้นเดียวและสองชั้น พระเกศเป็นรูปบัวตูม พระพักตร์คว่ำแสดงถึง พระญาณอันแก่กล้า อันเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของขอม พระกรรณ (ใบหู)ยาวจดพระอังสา(บ่า) ผู้ขุดพบครั้งแรกจึงเรียกว่า "พระหูยาน"

พระหูยาน ลพบุรี สร้างเมื่อสมัยขอมยังเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เมื่อประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว สมัยนั้นพระองค์ทรงใช้เมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นศูนย์กลางในการบัญชาราชการงานบ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ ดังนั้นวิทยาการทั้งหลายแหล่ของขอมล้วนมีกำเนิดที่เมืองละโว้ ทั้งสิ้น


พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงจากฐานถึงยอดสุดประมาณ 5.5 ซ.ม. พระหูยาน พิมพ์กลาง และพระหูยาน พิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา

 พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 เราเรียกว่า "พระกรุเก่า" ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า "พระกรุใหม่" ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน เสมือนหนึ่งเป็นคำประกาศยืนยันถึงความเก่าแก่ของอายุขัย พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับ พระพุทธรูปบูชาซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิม จะเป็นสีเขียว "คราบเขียวของพระพุทธรูปบูชา" นี้ได้ลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย จึงกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินเขาใช้ประกอบในการพินิจ พิจารณาพระหูยานกรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี มีพุทธคุณเป็นเลิศ ทางด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี