วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลูกอมหลวงปู่ทิม ยุคต้น 

ลูกอมหลวงปู่ทิม ยุคแรก หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จังหวัดระยอง

หลวงปู่ทิม อิสริโก (พระครูภาวนาภิรัต) วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง rerer 

สุดยอด ลูกอมหลวงปู่ทิม ยุคต้น เนื้อยานัตถ์
ลูกอมหลวงปู่ทิม เส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 1.5 ซ.ม. (มาตรฐาน)

ยุคต้นครับเนื้อนี้มวลสารผงพรายเข้มๆมันๆบรอนซ์สวยๆอย่างนี้หาไม่ได้ง่ายๆนะครับ นี่แหละครับยุคต้นแท้ๆ บางคนเรียกเนื้อยานัตถ์ คนเล่นมานานแล้วจะรู้ กว่าจะได้มาเล่นเอาซะเหนื่อย

หลวงปู่ทิ อิสริโก (พระครูภาวนาภิรัต) วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง หนึ่งในพระเกจิ ผู้ที่มีศีลาจารวัตร งดงามมาก น่าเคารพเลื่อมใส เคร่งครัดในพระธรรมวินัย จิตใจสะอาดสมกับภาวะของพระ ท่านพูดน้อย ยังเป็นพระเถระนักพัฒนา และเป็นพระเถระ จอมขมังเวทย์ ที่มีลูกศิษย์ลูกหา ทั่วประเทศ แม้กิตติศัพท์ที่ได้ยินได้ฟังมักจะเป็นไปในทำนองอภินิหาร หรือ อิทธิวิธีแทบทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ศึกษาประวัติของท่านจากลูกศิษย์ของท่านหลายๆ ท่าน จึงทราบว่าแม้ท่านจะเคยฝักใฝ่ในทางไสยศาสตร์มาก่อน แต่ก็มิได้ลุ่มหลงในศาสตร์ดังกล่าว แม้แต่การใช้อิทธิวิธีในบางคราว บางโอกาส เพื่อช่วยเหลือ ญาติโยม ท่านก็ทำเท่าที่จำเป็นเพื่อสงเคราะห์หมู่ชนจริงๆ มิได้มุ่งหวังอามิสอันเป็นโลกธรรม แม้แต่น้อย
        วัตถุมงคลหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ได้สร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น หลายพิมพ์ แต่พระเครื่องของหลวงปู่ทิมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ พระขุนแผนผงพรายกุมาร พระชุดชินบัญชร เหรียญเจริญพร รวมไปถึงวัตถุมงคลรุ่น ๘ รอบ เป็นต้น

         คาถาอาราธนาพระเครื่อง หลวงปู่ทิม อิสริโก 
“ตั้ง นะโม ๓ จบ”แล้ว ระลึกถึง หลวงปู่ทิม แล้วว่า
“อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ 
          สุนะโมโล (หัวใจขุนแผน)
มะอะอุ ทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา พุทโธ พุทโธ” ว่า ๓ จบ
หมายเหตุ ถ้าไม่ใช่ ลูกอมหลวงปู่ทิม ก็ให้ตัดตรง สุนะโมโล ออก

แล้วตั้งจิตอธิฐาน หลวงปู่ทิมท่านว่าเป็นคาถาที่ดีและก็สั้น และพุทธคุณของคาถาบทนี้ก็สูงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่ที่คนปฏิบัติ ขอให้ระลึก นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบา อาจารย์ และหลวงปู่ทิม เป็นที่ตั้ง มั่นสร้างกุศล ผลบุญ คงส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรือง ประสพความสำเร็จในทุกๆ ด้าน

สุดยอด ลูกอมหลวงปู่ทิม

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระเปิม ลำพูน


พระเปิม ลำพูน สีเขียว องค์แชมป์


ประวัติ พระเปิมลำพูน
พระเปิม ลำพูนเป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก)
พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก
การขุดหา พระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป
ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด หมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือ เลี่ยม หมายถึง แหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น
พระเปิม ลำพูนเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ

นี้ละครับ พระเปิมลําพูน

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระบาง ลําพูน

พระบาง

พระบาง กรุเก่า



พระบาง ลําพูน (กรุเก่า)

ศิลปการช่างเป็นแบบช่างหลวงหริกุญชัย อายุการสร้างประมาณ 1200 ปีมาแล้ว ส่วนองค์ประกอบพระเป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฎให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะ พระคงกับพระบาง เป็นพระที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากเข้าใจว่าเป็นพระฝีมือช่างเดียวกัน ต่างกันที่แม่พิมพ์

"พระบาง" หนึ่งในพระสกุลลำพูนซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระคง" มาก แต่จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมือน "พระรอด" ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ หรือที่เรียกกันว่า "มารยาหญิง" ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นการสร้างมาสำหรับผู้หญิงครับ

ด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์

เสน่ห์นั้นต้อง พระบาง
พระสกุลลำพูน ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านร้อยแปด และผงแร่ธาตุ  เนื้อดินมาจากใจกลางเมือง และมุมเมืองที่สำคัญ สร้างในสมัยเจ้าแม่จามเทวีที่ครองเมืองยุคแรกๆ เพื่อเป็นคติที่จะสร้างความร่มเย็น และมั่นคงแก่นคร

พระลำพูนเนื้อที่ละเอียดที่สุดคือ เนื้อพระรอด เพราะสร้างขึ้นด้วยดินผสมว่าน ส่วนมากเป็นดินหรดาน ( สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม) เนื้อละเอียดมาก มีความแข็งแกร่งสูงเพราะเผานานเจ็ดวันเจ็ดคืน เนื้อจึงแกร่งมาก  พระคง พระบาง พระเลี่ยง จะมีส่วนของว่านและแร่ดอกมะขามผสมอยู่ จึงมีสีแร่แดงๆกระจายไปทั่วเนื้อพระ ให้เห็นได้ชัดๆ เนื้อเนียน แร่ไม่ลอย   สำหรับพระลือ จะพบว่ามีแร่มากเพิ่มขึ้นมาอีกเพราะจะเน้นด้านอิทธิฤทธิ์ จึงหยาบกว่าพิมพ์อื่นๆ แต่สำหรับพิมพ์ที่เนื้อหยาบที่สุดคือ พระลบ ซึ่งมีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดและแร่พลอยทับทิม ซึ่งเมื่อเอียงดูด้วยกล้องขยายและทำมุมแสงให้ดี จะพบว่ามีแร่ทับทิม และแร่ทรายเงินทรายทองปรากฏเด่นชัด และเนื้อจะเป็นสีแดงด้วยสีของว่าน

อิทธิฤทธิ์ และพุทธคุณ เท่าที่เล่าสืบต่อกันมา จะทำให้ทราบว่า เนื้อพระมีส่วนที่ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ เช่น พระคงจะเด่นด้านคงกระพัน  พระบางซึ่งละเอียดกว่าจะเด่นเรื่องเมตตาโชคลาภ พระเลี่ยงจะเด่นเรื่องพ้นจากภัยภิบัติต่างๆ  พระลบ จะเด่นเรื่องคงกระพันและล้างสิ่งชั่วร้าย  พระลือ เด่นด้านการปกครองและอำนาจ สำหรับพระรอด จะเด่นเรื่องคลาดแคล้วจากภัยอันตรายทั้งปวงและโชคลาภ

การดูพระสกุลลำพูน ให้ดูเนื้อพระเป็นหลัก เนื้อพระกรุลำพูน จะเนียนนุ่ม ละเอียด ต่างจากพระใหม่ที่ผิวแห้งผาก หยาบ มีรูผิวพรุน เนื้อพระลำพูนซึ่งผ่านน้ำ ความชื้นจากกรุมาเป็นพันปี จะให้ความแห้งเนียน ปรากฏดินคราบกรุแม้นจะผ่านการล้างทำความสะอาดแต่เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นดินนวล (สีเหลืองอ่อนๆติดฝังลึกอยู่ในผิว และซอกพระ รูพรุนจะถูกแทนที่ด้วยครบดินนวล จึงทำให้ดูนุ่มเนียน แม้นพระปลอมจะทำเนื้อโดยนำไปคลุกคั่วกับไขหรือขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวดูนุ่มและไม่แห้งผาก มีการนำไปขัดด้วยใบตองแห้งให้มันวาว ก็ไม่ทำให้เกิดความหนึกนุ่มคล้ายพระเก่า เมื่อดูเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัด ดังนั้น ครูที่ดีที่สุดคือเนื้อพระเก่า และพระปลอมที่ทำได้ชนิดว่าดีที่สุด แล้วมานั่งแยกที่ละน้อยเรียนรู้กับการดูเนื้อ ท่านก็จะดูพระลำพูนเป็น

อีกอย่างหนึ่งคือ เส้นสายลายพิมพ์ ของพระ เส้นซุ้ม ก้านโพธิ์ ใบโพธิ์ จะเป็นลายนูนเห็นเด่นชัด ไม่ลบเลือน แม้นพระนั้นจะมีสภาพสึกก็ยังมีร่องรอยของเส้นสายอยู่ ขอบมุมของเส้นสาย จะคม มน กลม ละเอีดยแม้นพระปลอมรุ่นใหม่จะถอดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่แม่พิมพ์ไม่หดตัว แต่เส้นสายอาจมีผิดเพี้ยนด้านการกด และที่สำคัญแม้นเนื้อหาจะมีส่วนผสมที่นำดินเก่ามาบดอัดขึ้นรูป ก็หาความละเอียด เนียน และคราบนวลของกรุไม่เจอ แม้พวกมือผีจะพยายามทำคราบกรุ แต่ก็เพียงเหมือเอาไปคลุกดิน คราบบางทีหนาเตอะ ราดำที่ทำด้วยหมึกจีน หรือหมึกคอมที่ทนน้ำ ก็เป็นคราบจุดๆเหมือนโดนสลัดด้วยพู่กัน ไม่เหมือนคราบราดำจริงที่เกิดจากซอกพระและจากเนื้อผิวด้านในกระจายสู่ด้านนอกมีรากฝังลึก และแตกเป็นเส้นเห็นชัดด้วยกล้อง...