วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

การสะสมพระเครื่องเมืองไทย แนวทางในการศึกษาพระเครื่อง จะได้ไม่หลงทาง


     ต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบพระเครื่องอะไร เพราะว่าพระเครื่องมีอยู่หลายแบบทั้งเนื้อผง , เนื้อดิน , เหรียญ , กริ่ง , รูปหล่อ ฯลฯ รวมทั้งพระกรุ พระเก่า พระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ เลือกเก็บสิ่งที่ชอบจะทำให้มีความสุขในการสะสม


    • เลือกเก็บพระที่ดูง่ายเป็นหลัก พระเครื่องอะไรก็ได้ที่ชอบไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ แต่จะต้องเป็นพระแท้ดูง่ายเท่านั้น

    • อย่าโลภ เพราะว่าพระแท้ไม่มีถูก อย่าซื้อพระเครื่องที่ราคาใคร ๆ ก็อยากได้ของดีและถูก ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะมีแต่น้อยมาก

    • ถ้ามีกำลังพยายามเก็บพระสวย แต่ถ้าหาไม่ได้พยายามหาพระเครื่องที่สภาพเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้ • การตรวจเช็คพระต้องเช็คกับคนเป็น อย่าหูเบา การเสนอขายในสนามพระเครื่องเป็นแนวทางการเช็คพระเครื่องที่ดีที่สุด

    • วงการพระเครื่องทุกวันนี้มีมาตรฐานมากขึ้น ทำให้การสะสมง่ายขึ้น ศึกษาคนขายก่อนที่จะทำการเช่าบูชา ให้มีการรับประกันความแท้อย่างชัดเจน พึงระลึกว่าเงินของเราแท้ พระเครื่องที่ได้ก็ต้องแท้ด้วย

    • พระเครื่อง เป็นวัตถุมงคลที่ไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ การได้พระเครื่องมาสะสมถือเป็นเรื่องมงคล ถ้าเช่าพระเครื่องแล้วมีปัญหาที่ทำให้ไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเรื่องใด ๆ อาทิ เรื่องเงิน , ทะเลาะกับครอบครัว , ไม่สบายใจ ฯลฯ อย่าเช่าโดยเด็ดขาด พึงระลึกเสมอว่าเรากำลังนำสิ่งที่ดีเป็นมงคลเข้าสู่บ้าน

    • เคยมีคนถามผมว่าเก็บพระอะไรดี ราคาจะแพงขึ้นในอนาคต ผมจะตอบทุกท่านว่า ผมเชื่อว่าพระเครื่องทุกชนิดราคาจะขึ้น แต่จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ชนิดของพระ เก็บของที่ชอบและสวย ราคาขึ้นแน่ครับ

    • พระเครื่องถือเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องค่อนข้างสูง การสะสมถือเป็นการลงทุนชนิดนึงครับ

วิวัฒนาการของการจำแนกพิมพ์


      ยุคที่ 1 ยุคโบราณ
จากบันทึกของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดย์ กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ที่พบในพระราชอาณาจักรสยาม อาจแบ่งออกได้เป็นหลายหมวดด้วยกัน ตามที่สืบสวนได้จากพระราชพงศาวดารสยามดังนี้”

หมวดที่ 1 แบบพระปฐม ราวๆ พ.ศ. 950-1250
หมวดที่ 2 แบบถ้ำแหลมมลายู ราวๆ พ.ศ. 1450-1550
หมวดที่ 3 แบบขอม จะสมัยเดียวกันกับถ้ำมลายูหรือใหม่กว่าสักเล็กน้อย
หมวดที่ 4 แบบสุโขทัย ราวๆ พ.ศ. 1750-1950 โดยมากเป็นพระพุทธรูปเดินหรือที่เรียกกันว่า พระลีลา
หมวดที่ 5 แบบอยุธยา หลัง 1950 เป็นแบบที่ทำขึ้นใหม่ ตามธรรมดามักเป็นรูปพระพุทธเจ้ามีท่าตามปางต่างๆ อยู่ภายในซุ้มเล็กๆชนิดหนึ่งเรียกกันว่า “เรือนแก้ว”
หมวดที่ 6 พระเครื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 6 แบบ

    พระพิมพ์แบบพระปฐม แบ่งได้เป็น 2 ชนิด พิจารณาตามสมัยทั้ง 2 ชนิดนี้เก่ามากเป็นฝีมือช่างช่าวอินเดียในรัชสมัยพระเจ้าคุปตะ (ราว พ.ศ. 900-1200) ซึ่งพบมากในถ้ำ

    พระพิมพ์แบบถ้ำแหลมมลายู เป็นพระพิมพ์ต่างๆที่พบได้เป็นจำนวนมากตามถ้ำทั้งหลายในแหลมมลายู พระพิมพ์เหล่านี้เป็นดินดิบหรือดินเหนียวสุก

    พระพิมพ์ของแหลมมลายูบางชนิดลักษณะเหมือนกับรูปสลักที่สร้างขึ้นในเมืองระหว่างอินเดียกับชวา เพราะอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองปาเลบังในเกาะสุมาตรานั้น เมื่อ พ.ศ.1150-1750 ได้แผ่อาณาเขตไปถึงฝั่งบนแหลมมลายูและทางทิศเหนือจนถึงเมืองไชยา รูปพระโพธิสัตว์อันสวยงามซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้พบที่เมืองไชยานั้นเป็นฝีมือช่างอันวิจิตรของอาณาจักรศรีวิชัย และพระพิมพ์แบบที่ 2 นี้ จัดว่าเป็นฝีมืออย่างดีที่สุดของอาณาจักรนั้นเป็นส่วนมากเหมือนกัน

    พระพิมพ์แบบขอม เครื่องแต่งกายและรูปพรรณมีลักษณะ คล้ายกับรูปสลักของขอมโบราณมักพบเห็นกันมากตัวอย่างเช่น พระพิมพ์ในสมัยลพบุรี ผู้ที่ได้เห็นรูปสลักโบราณ หรือจารึกของขอมแล้ว ย่อมจะทราบได้ดีทีเดียวว่า พระพิมพ์นี้มีรูปสลัก 3 องค์ประกอบกัน คือ พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนนาค 1 องค์ เทวดาสี่หน้า 1 องค์ สตรี 1 องค์ พระเครื่องศิลปลพบุรีนี้จะพบได้ตามจารึกในพุทธศาสนาของขอมโบราณเป็นส่วนมาก

    พระพิมพ์แบบสุโขทัย โดยมากเป็นพระปางลีลา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่พิมพ์เท่านั้น แม้พระพุทธรูปหล่อ และรูปแกะสลักอื่นๆ ก็เป็นพระสีลาเช่นกัน

    ความนิยมของช่างไทยในการทำรูปของพระพุทธเจ้าปางลีลา หรือเดินนั้น เห็นจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ คือในช่วงปี 1750-1850 อาณาจักรไทยเป็นชาติที่กำลังขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง โดยได้ปราบปรามประเทศที่อยู่ในดินแดนระหว่างอินเดียกับจีนตอนกลางให้อยู่ในอำนาจเป็นประเทศราช ในสมัยสุโขทัยไทยได้ขับไล่พวกขอมออกไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งได้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศเหล่านั้น เช่นเดียวกับไทยที่เชียงแสนและเชียงราย ก็ได้ขับไล่พวกมอญออกไปจากลุ่มแม่น้ำปิง อาณาจักรสุโขทัยรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช และผู้สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปลีลาขึ้นเป็นจำนวนมากมายเกินที่จะนับ เช่นเดียวกับพระเจ้ามังรายมหาราชซึ่งมีชัยชนะพระเจ้ามอญที่เมืองลำพูนแล้ว และสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น ก็ได้ทรงหล่อรูปพระลีลาขึ้นมากเช่นกัน

    พระพิมพ์ต่อจากสมัยอยุธยาลงมานั้น คือพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นภายหลัง พ.ศ.1950 พระพิมพ์รุ่นนี้ นับว่ามีคุณค่าไม่น้อยกว่าพระพิมพ์รุ่นก่อนๆ เนื่องจากเป็นของที่มีคุณค่าทางวิชาช่างเป็นอย่างมาก พุทธลักษณะเป็นพระทรงเครื่องอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งหมายถึงองค์พระพุทธเจ้าตามปางต่างๆ คือ นั่งบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง นอนบ้าง โดยมากมักจะทำด้วยดิน ลงรักปิดทอง

    พระพิมพ์ขนาดเล็ก ยังมีพระพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในประเภทพระเครื่องสมัยของพระพิมพ์ชนิดนี้เป็นการยากที่จะกำหนดให้แน่นอนลงได้

    ยุคที่ 2 ยุคเก่า
เป็นช่วงเวลาต่อจากยุคโบราณที่เริ่มมีการแบ่งกลุ่มประเภทพระ จากประสบการณ์ในกรรมวิธีสร้างพระเครื่อง

    ทำให้สามารถแยกพระเครื่องหรือพระพิมพ์ออกไปได้หลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งสามารถสรุปการจำแนกเป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ

    1. การจำแนกตามประเภทวิธีช่าง ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
        1.1 แบ่งจากลักษณะการสร้าง จำแนกออกไปได้เป็น 3 ประเภท
              พระพิมพ์แบบอัด
              พระพิมพ์แบบหล่อ
              พระพิมพ์แบบปั๊ม

        1.2 แบ่งจากลักษณะความหนาของส่วนโค้งนูน
              ปฏิมากรรมแบบแบนนูนสูง
              ปฏิมากรรมแบบแบนกึ่งนูนสูง
              ปฏิมากรรมแบบแบนนูนต่ำ

        1.3 แบ่งลักษณะเนื้อวัสดุ จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
               พระพิมพ์เนื้ออโลหะ
               พระพิมพ์เนื้อโลหะ

    2. การจำแนกตามประเภทคุณวิเศษ สามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ
        2.1 ประเภทคุณวิเศษโดยทั่วไป จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ พระเครื่องฯ ประเภทมหานิยม พระเครื่องฯ ประเภทมหาอุตม์ พระเครื่องฯ ประเภทนิรันตราย

        2.2 ประเภทคุณวิเศษทางเนื้อวัตถุ แบ่งตามลักษณะวัสดุที่สร้าง เป็น 3 กลุ่มคือ
               พระเครื่องฯ เนื้อโลหะ
               พระเครื่องฯ เนื้อดินเผา
               พระเครื่องฯ เนื้อปูนปั้น

ยุคที่ 3 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
การจำแนกพระในช่วงแรกของยุคหลัง ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา

    ยังคงเน้นในทางคุณวิเศษทางพุทธคุณ ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างถึงวิถีแนวทางของนักเล่นพระ หรือ นักเลงพระรุ่นนี้ ซึ่งจำแนกพระออกเป็น พระดีทางคงพระพัน พระดีทางนิรันตราย พระดีทางเมตตามหานิยม พระดีทางแคล้วคลาด ฯลฯ จนเกิดเป็นพุทธาคมที่เด่นของพระเครื่องมากมายสืบทอดมาจนทุกวันนี้โดยไม่สนใจในองค์ประกอบอื่นใดเลยในการจำแนก

ยุคที่ 4 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การสะสมพระได้ขยายตัวขึ้นมาก และเริ่มมีผู้รู้ผู้ชำนาญการเขียนตำราการศึกษาพระเครื่องขึ้นมา จึงทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

    อาจารย์ตรี ยัมปวาย เป็นผู้มีส่วนสำคัญท่านหนึ่งซึ่งทำให้เกิดแนวคิดนี้ขึ้น อาจารย์ตรี ยัมปวาย เป็นนักสะสมพระรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีกลุ่มนักสะสมด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นปรมาจารย์ของวงการพระในปัจจุบันทั้งสิ้น และท่านยังเป็นผู้กำหนดการจัดกลุ่มพระชุดเบญจภาคีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพิจารณาจากคุณค่า รูปทรง ขนาดของพระเครื่องที่จะจัดขึ้นสร้อยไว้คล้องคอ เพื่อให้ดูสวยงามและเหมาะสม ทั้งค่านิยม ความเก่าและคุณวิเศษ

    จากจุดเริ่มที่มีการจัดพระชุดเบญจภาคีนี้เอง ก็เริ่มมีการจำแนกประเภทพระในหมู่นักสะสมยุคนั้น ตามวัตถุดิบที่นำมาจัดสร้างพระ ดังนี้

1.พระชุดเบญจภาคี
2.พระชุดเนื้อดิน
3.พระชุดเนื้อชิน
4.พระชุดเนื้อผง
5.พระชุดเนื้อโลหะ
6.พระปิดตา
7.พระประเภทเหรียญ
8.เครื่องรางของขลัง

    จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาก็ได้มีการจำแนกพระเครื่องเพิ่มเติมและชัดเจนขึ้น โดยเติมพระกริ่งและรูปหล่อขึ้น หลังจากนั้นก็มีการเพิ่ม พระชุดหลวงปู่ทวดเข้ามา

    ยุคปัจจุบัน
การจำแนกพระออกเป็นหมวดหมู่ยังคงใช้แนวตามเดิม เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างข้างต้น

1.พระชุดเบญจภาคี
2.พระชุดเนื้อดิน -พระเนื้อดินยอดนิยม -พระเนื้อดินทั่วไป
3.พระชุดเนื้อชิน -พระเนื้อชินชุดยอดขุนพล -พระเนื้อชินทั่วไป

จะเห็นได้ว่าจำแนกพระมีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น เข้าใจง่ายมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลูกอมหลวงปู่ทิม ยุคต้น 

ลูกอมหลวงปู่ทิม ยุคแรก หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จังหวัดระยอง

หลวงปู่ทิม อิสริโก (พระครูภาวนาภิรัต) วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง rerer 

สุดยอด ลูกอมหลวงปู่ทิม ยุคต้น เนื้อยานัตถ์
ลูกอมหลวงปู่ทิม เส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 1.5 ซ.ม. (มาตรฐาน)

ยุคต้นครับเนื้อนี้มวลสารผงพรายเข้มๆมันๆบรอนซ์สวยๆอย่างนี้หาไม่ได้ง่ายๆนะครับ นี่แหละครับยุคต้นแท้ๆ บางคนเรียกเนื้อยานัตถ์ คนเล่นมานานแล้วจะรู้ กว่าจะได้มาเล่นเอาซะเหนื่อย

หลวงปู่ทิ อิสริโก (พระครูภาวนาภิรัต) วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง หนึ่งในพระเกจิ ผู้ที่มีศีลาจารวัตร งดงามมาก น่าเคารพเลื่อมใส เคร่งครัดในพระธรรมวินัย จิตใจสะอาดสมกับภาวะของพระ ท่านพูดน้อย ยังเป็นพระเถระนักพัฒนา และเป็นพระเถระ จอมขมังเวทย์ ที่มีลูกศิษย์ลูกหา ทั่วประเทศ แม้กิตติศัพท์ที่ได้ยินได้ฟังมักจะเป็นไปในทำนองอภินิหาร หรือ อิทธิวิธีแทบทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ศึกษาประวัติของท่านจากลูกศิษย์ของท่านหลายๆ ท่าน จึงทราบว่าแม้ท่านจะเคยฝักใฝ่ในทางไสยศาสตร์มาก่อน แต่ก็มิได้ลุ่มหลงในศาสตร์ดังกล่าว แม้แต่การใช้อิทธิวิธีในบางคราว บางโอกาส เพื่อช่วยเหลือ ญาติโยม ท่านก็ทำเท่าที่จำเป็นเพื่อสงเคราะห์หมู่ชนจริงๆ มิได้มุ่งหวังอามิสอันเป็นโลกธรรม แม้แต่น้อย
        วัตถุมงคลหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ได้สร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น หลายพิมพ์ แต่พระเครื่องของหลวงปู่ทิมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ พระขุนแผนผงพรายกุมาร พระชุดชินบัญชร เหรียญเจริญพร รวมไปถึงวัตถุมงคลรุ่น ๘ รอบ เป็นต้น

         คาถาอาราธนาพระเครื่อง หลวงปู่ทิม อิสริโก 
“ตั้ง นะโม ๓ จบ”แล้ว ระลึกถึง หลวงปู่ทิม แล้วว่า
“อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ 
          สุนะโมโล (หัวใจขุนแผน)
มะอะอุ ทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา พุทโธ พุทโธ” ว่า ๓ จบ
หมายเหตุ ถ้าไม่ใช่ ลูกอมหลวงปู่ทิม ก็ให้ตัดตรง สุนะโมโล ออก

แล้วตั้งจิตอธิฐาน หลวงปู่ทิมท่านว่าเป็นคาถาที่ดีและก็สั้น และพุทธคุณของคาถาบทนี้ก็สูงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่ที่คนปฏิบัติ ขอให้ระลึก นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบา อาจารย์ และหลวงปู่ทิม เป็นที่ตั้ง มั่นสร้างกุศล ผลบุญ คงส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรือง ประสพความสำเร็จในทุกๆ ด้าน

สุดยอด ลูกอมหลวงปู่ทิม

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระเปิม ลำพูน


พระเปิม ลำพูน สีเขียว องค์แชมป์


ประวัติ พระเปิมลำพูน
พระเปิม ลำพูนเป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก)
พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก
การขุดหา พระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป
ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด หมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือ เลี่ยม หมายถึง แหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น
พระเปิม ลำพูนเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ

นี้ละครับ พระเปิมลําพูน

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระบาง ลําพูน

พระบาง

พระบาง กรุเก่า



พระบาง ลําพูน (กรุเก่า)

ศิลปการช่างเป็นแบบช่างหลวงหริกุญชัย อายุการสร้างประมาณ 1200 ปีมาแล้ว ส่วนองค์ประกอบพระเป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฎให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะ พระคงกับพระบาง เป็นพระที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากเข้าใจว่าเป็นพระฝีมือช่างเดียวกัน ต่างกันที่แม่พิมพ์

"พระบาง" หนึ่งในพระสกุลลำพูนซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระคง" มาก แต่จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมือน "พระรอด" ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ หรือที่เรียกกันว่า "มารยาหญิง" ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นการสร้างมาสำหรับผู้หญิงครับ

ด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์

เสน่ห์นั้นต้อง พระบาง
พระสกุลลำพูน ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านร้อยแปด และผงแร่ธาตุ  เนื้อดินมาจากใจกลางเมือง และมุมเมืองที่สำคัญ สร้างในสมัยเจ้าแม่จามเทวีที่ครองเมืองยุคแรกๆ เพื่อเป็นคติที่จะสร้างความร่มเย็น และมั่นคงแก่นคร

พระลำพูนเนื้อที่ละเอียดที่สุดคือ เนื้อพระรอด เพราะสร้างขึ้นด้วยดินผสมว่าน ส่วนมากเป็นดินหรดาน ( สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม) เนื้อละเอียดมาก มีความแข็งแกร่งสูงเพราะเผานานเจ็ดวันเจ็ดคืน เนื้อจึงแกร่งมาก  พระคง พระบาง พระเลี่ยง จะมีส่วนของว่านและแร่ดอกมะขามผสมอยู่ จึงมีสีแร่แดงๆกระจายไปทั่วเนื้อพระ ให้เห็นได้ชัดๆ เนื้อเนียน แร่ไม่ลอย   สำหรับพระลือ จะพบว่ามีแร่มากเพิ่มขึ้นมาอีกเพราะจะเน้นด้านอิทธิฤทธิ์ จึงหยาบกว่าพิมพ์อื่นๆ แต่สำหรับพิมพ์ที่เนื้อหยาบที่สุดคือ พระลบ ซึ่งมีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดและแร่พลอยทับทิม ซึ่งเมื่อเอียงดูด้วยกล้องขยายและทำมุมแสงให้ดี จะพบว่ามีแร่ทับทิม และแร่ทรายเงินทรายทองปรากฏเด่นชัด และเนื้อจะเป็นสีแดงด้วยสีของว่าน

อิทธิฤทธิ์ และพุทธคุณ เท่าที่เล่าสืบต่อกันมา จะทำให้ทราบว่า เนื้อพระมีส่วนที่ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ เช่น พระคงจะเด่นด้านคงกระพัน  พระบางซึ่งละเอียดกว่าจะเด่นเรื่องเมตตาโชคลาภ พระเลี่ยงจะเด่นเรื่องพ้นจากภัยภิบัติต่างๆ  พระลบ จะเด่นเรื่องคงกระพันและล้างสิ่งชั่วร้าย  พระลือ เด่นด้านการปกครองและอำนาจ สำหรับพระรอด จะเด่นเรื่องคลาดแคล้วจากภัยอันตรายทั้งปวงและโชคลาภ

การดูพระสกุลลำพูน ให้ดูเนื้อพระเป็นหลัก เนื้อพระกรุลำพูน จะเนียนนุ่ม ละเอียด ต่างจากพระใหม่ที่ผิวแห้งผาก หยาบ มีรูผิวพรุน เนื้อพระลำพูนซึ่งผ่านน้ำ ความชื้นจากกรุมาเป็นพันปี จะให้ความแห้งเนียน ปรากฏดินคราบกรุแม้นจะผ่านการล้างทำความสะอาดแต่เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นดินนวล (สีเหลืองอ่อนๆติดฝังลึกอยู่ในผิว และซอกพระ รูพรุนจะถูกแทนที่ด้วยครบดินนวล จึงทำให้ดูนุ่มเนียน แม้นพระปลอมจะทำเนื้อโดยนำไปคลุกคั่วกับไขหรือขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวดูนุ่มและไม่แห้งผาก มีการนำไปขัดด้วยใบตองแห้งให้มันวาว ก็ไม่ทำให้เกิดความหนึกนุ่มคล้ายพระเก่า เมื่อดูเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัด ดังนั้น ครูที่ดีที่สุดคือเนื้อพระเก่า และพระปลอมที่ทำได้ชนิดว่าดีที่สุด แล้วมานั่งแยกที่ละน้อยเรียนรู้กับการดูเนื้อ ท่านก็จะดูพระลำพูนเป็น

อีกอย่างหนึ่งคือ เส้นสายลายพิมพ์ ของพระ เส้นซุ้ม ก้านโพธิ์ ใบโพธิ์ จะเป็นลายนูนเห็นเด่นชัด ไม่ลบเลือน แม้นพระนั้นจะมีสภาพสึกก็ยังมีร่องรอยของเส้นสายอยู่ ขอบมุมของเส้นสาย จะคม มน กลม ละเอีดยแม้นพระปลอมรุ่นใหม่จะถอดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่แม่พิมพ์ไม่หดตัว แต่เส้นสายอาจมีผิดเพี้ยนด้านการกด และที่สำคัญแม้นเนื้อหาจะมีส่วนผสมที่นำดินเก่ามาบดอัดขึ้นรูป ก็หาความละเอียด เนียน และคราบนวลของกรุไม่เจอ แม้พวกมือผีจะพยายามทำคราบกรุ แต่ก็เพียงเหมือเอาไปคลุกดิน คราบบางทีหนาเตอะ ราดำที่ทำด้วยหมึกจีน หรือหมึกคอมที่ทนน้ำ ก็เป็นคราบจุดๆเหมือนโดนสลัดด้วยพู่กัน ไม่เหมือนคราบราดำจริงที่เกิดจากซอกพระและจากเนื้อผิวด้านในกระจายสู่ด้านนอกมีรากฝังลึก และแตกเป็นเส้นเห็นชัดด้วยกล้อง...

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์หลวง สุดยอดผ้ายันต์แห่งล้านนา



ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์หลวง สุดยอดผ้ายันต์แห่งล้านนา เป็นผ้ายันต์เขียนด้วยมือด้วยหมึกสักลงผ้าโบราณ(ผ้าดิบ) นิยมเก็บไว้ใช้ไว้บูชาหรือไว้กับบ้านเรือน
พุทธคุณครอบจักรวาล เชื่อว่าผู้ใดมีผ้ายันต์พระสิหิงค์ไว้ในครอบครอง จะมีประโยชน์มากมายกับการดำเนินชีวิต คือใช้อาราธนาได้นานับประการเลยทีเดียว



รายละเอียดผืนนี้
งานเขียนมือ บนผ้าดิบ สวยมาก เก่า หาไม่ง่าย ฝีมือใช้เยี่ยม ศิลป์ อลังการ ผืนใหญ่ประมาณ 1 เมตร
ในสุดเป็น พระพุทธสิหิงค์ ล้อมชั้นที่สองด้วย พระสาวก 12 องค์ ล้อมชั้นที่สามด้วย ขบวนเทพต่างๆ อีก 12 กลุ่ม
นอกสุดเป็น รูปท้าวจตุโลกบาล นาคบ่วงบาศ์ก์ รูปม้ารูปนกคุ้มภัย ยันต์ปัฐมัง คาถานวภา คาถาทุกขันเต รวมคาถาโชคลาภ และแคล้วคลาดเพียบ


สมัยโบราณเมื่อมีการหล่อ ปั้น หรือแกะสลักพระพุทธรูปด้วยไม้แล้ว จะนำไปกระทำพิธีแล้วถวายไว้บูชาไว้ที่วัด เพราะถือว่าที่อยู่ของพระพุทธรูปคือที่วัด จะไม่เก็บองค์พระพุทธรูปไว้บูชาที่บ้านเหมือนกับปัจจุบัน ถ้าใครเก็บไว้ที่บ้านถือว่าไม่ถูกต้อง ว่ากันว่าเป็นพระบ้านไปเสีย บนหิ้งพระในบ้านจะมีคำไหว้พระ คำไหว้พระธาตุ รูปเขียนเจดีย์ที่สำคัญหรือรูปเขียนสีพระพุทธรูปนั้น อย่างกับพระพุทธรูปที่ชื่อว่าพระสิหิงค์ ผู้ที่เป็นชายหัวหน้าครอบครัวก็จะเรียนเอาคำไหว้พระสิงห์ หรือคาถาพระสิงห์ คือคาถาปฐมัง ไว้ไหว้ทุกค่ำเช้า และบุคคลที่มีความรู้ในด้านคาถาอาคม มีความรู้ด้านขีดเขียน ก็จะเขียนรูปพระสิหิงค์บนแผ่นผ้า พร้อมทั้งเขียนภาพพระสาวกบางองค์ เขียนรูปท้าวจตุโลกบาล เขียนรูปช้างม้าลงไปด้วยและเขียนคาถาปัฐมัง คาถานวภา คาถาทุกขันเต เป็นต้น ลงบนแผ่ผ้านั้นๆ และเขียนแผ่นผ้านั้นว่า “ขบวนพระสิหิงค์ ”การทำผ้ายันต์พระสิหิงค์แต่ละผืนนั้นต้องใช้เวลาและความพยายามสูงเพราะมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอสมควร ดังนั้นจึงเชื่อว่า ผู้ใดมีผ้ายันต์พระสิหิงค์ไว้ในครอบครองจะมีประโยชน์มากมายกับชีวิต

วิธีใช้ผ้ายันต์พระสิหิงค์ ใช้ได้ ๑,๐๐๐ ช่อง คือใช้ได้นานับปาการ เลยที่เดียว ยกตัวอย่างเช่น หากจะบูชาไว้ป้องกันขึดเขิง คืออุบาทว์ทั้งหลายทั้งปวง ให้ว่าด้วย “อิติปิโส ภควา ข้าขออาราธนาพระพุทธเจ้ากับเจ้าแม่ธรณีทั้ง ๘ ทิศข้าก็ขอถวายตั้งจิตและสันดาน ที่สถานที่ ที่หย้าว ที่เรือน ขออย่ามีอุบาทว์จังไร มีทั้งประตูไม้ใผ่ ที่ใต้ถุน ที่ลุ่ม ที่เข็ญ ที่กับผะนัง ไม้หักไม้โค่น ทับที่ทับแดน แลนแล่นขึ้นเรือน งูเหลือมเลื้อยขึ้นชาน ช้างเถื่อนเข้าบ้าน เข้าสารออกงอกใบ เห็ดขึ้นกลางเตาไฟ มดปลวกรังแทงขึ้นใต้ถุนพื้นที่นอน วัวเปนสีจักเขาหักเขาคลอน นอนกรนนอนครางดังเหมือนดั่งเสียงฆ้อง เรือร้องดังเสียงกลอง กล้วยออกปลีทังข้างกลายเป็นดอกบัว ผีไห้ผีโห่ตัวสั่นถ่วาถ่วา ขันสำฤทธิ์ห้าวแตกเหมือนดาวกระจาย แมงมุมตีอก หนูกุกในเรือน นกเค้านกแขกมาแถกหลังคา ข้าพเจ้าจิ่งเอาน้ำเขาสูตรมาผะผายช้างม้าโยยาท่านหากกลัวเรา”

ขอขอบคุณข้อมูล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์  ศรีป่าซาง