แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระลำพูน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระลำพูน แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระบาง ลําพูน

พระบาง

พระบาง กรุเก่า



พระบาง ลําพูน (กรุเก่า)

ศิลปการช่างเป็นแบบช่างหลวงหริกุญชัย อายุการสร้างประมาณ 1200 ปีมาแล้ว ส่วนองค์ประกอบพระเป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฎให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะ พระคงกับพระบาง เป็นพระที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากเข้าใจว่าเป็นพระฝีมือช่างเดียวกัน ต่างกันที่แม่พิมพ์

"พระบาง" หนึ่งในพระสกุลลำพูนซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระคง" มาก แต่จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมือน "พระรอด" ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ หรือที่เรียกกันว่า "มารยาหญิง" ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นการสร้างมาสำหรับผู้หญิงครับ

ด้านพุทธคุณ "พระคง" จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ "พระบาง" พุทธคุณจะเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์

เสน่ห์นั้นต้อง พระบาง

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

พระรอดลำพูน กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
ประวัติพระรอดลำพูน
เป็นพระเครื่องชั้นหนึ่งในชุดเบญจภาคีของจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในสมัยทราวดีซึ่งมีอายุนับพันปีมาแล้ว ตำนานการสร้าง ตามตำนานกล่าวว่าพระวาสุเทพฤาษี กับพระสุกกทันตฤาษีได้สร้างเมืองหิริภุญชัยนครขึ้นแล้ว ปัจจุบันเรียกว่าเมืองลำพูน ได้แต่งทูตให้ลงมากราบบังคมทูลอนเชิญพระนางจามเทวีราชธิดากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ (ลพบุรี) ให้ขึ้นไปครองเมือง ต่อมาพระนางจามเทวีจึงได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัยนคร
ตามความต้องการของฤาษีทั้งสอง ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม ยังความผาสุขให้เกิดขึ้นแก่อาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างมาก เป็นที่โทมนัส ยินดีแก่พระวาสุเทพฤาษีกับพระสุกกทันตฤาษีเป็นอันมาก ฉะนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีและบุญญาธิการของพระนางจามเทวี ให้ปรากฏเป็นเกียรติคุณแก่โลก พระฤาษีทั้งสอง อันมีพระฤาษีนารอด จึงได้พร้อมใจกันสร้างพระพุทธประติมากรรมขนาดเล็ก ๆ ขึ้นถวายพระนางจามเทวี ด้วยการประจุด้วยอำนาจพุทธมนต์และญาณสมาบัติ ๘ (วิชาแปดประการ)ที่ตนได้บำเพ็ญสำเร็จมา และเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนาให้เจริญยิ่งต่อไป เพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังในภายภาคหน้าอีกด้วย

พระรอด

 พระรอดกรุวัดมหาวัน เป็นพระเครื่องที่ขึ้นชื่อลือชา ผู้คนแสวงหามาครอบครองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่มีอายุมากที่สุด และราคาค่างวดในตลาดพระเครื่องสูงระดับล้านขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่ว่าอยู่ในมือใคร ถ้าอยู่ในมือเซียนก็มีราคาไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โปรดศึกษาให้รู้และเข้าใจ แล้วแสวงหาของจริงของแท้ ซึ่งอาจซื้อหาได้ในราคาบ้านๆเท่านั้น อย่าเชื่อถือหนังสือเป็นมาตรฐานนัก เพราะคนทำหนังสือพระเครื่องขายก็ต้องการโปรโมทพระของตนเอง ของจริงของแท้อาจมีราคาหลักพันก็ได้ ซึ่งแล้วแต่บุญวาสาของใครของมัน แต่ถ้าเลื่อมใสจริงจัง ขอให้เป็นรูปพระก็ใช้ได้ทั้งนั้น ถ้าเราเลื่อมใสเคารพบูชาอย่างจริงัง เทพเทวาผู้ศักดิ์สิทธิ์ก็มาสิงสถิตย์ทำให้เป็นพระที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมาได้

รูปพระรอดที่นำมาแสดงไว้เป็นของจริง แต่อย่าเอาขนาดเป็นมาตรฐาน เพราะการถ่ายไม่เหมือนกัน และตบแต่งภาพไม่เหมือนกัน ผู้เขียนไม่ได้ละเอียดพิถีพิถันถึงขั้นจะทำให้พระทุกองค์มีขนาดที่เหมือนจริง แต่รูปลักษณ์นั้นเป็นของจริงแท้แน่นอน เพียงปรับให้มีขนาดเท่ากันทุกองค์ แต่บางองค์มีพื้นสีเดิมติดมาด้วย ทำให้องค์พระเล็กกว่าความเป็นจริง

พระรอดลำพูน มีพบที่กรุวัดมหาวันเท่านั้น เป็นศิลปะทวารวดี-ศรีวิชัย เป็นพระดินเผาทั้งสิ้น มีด้วยกันทั้งสิ้น 6 พิมคือ พระรอดพิมพ์ใหญ่, พระรอดพิมพ์กลาง, พระรอดพิมพ์เล็ก, พระรอดพิมพ์ต้อ, พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง ซึ่งพิมพ์สุดท้ายหาได้ยากที่สุด


พระอธิการทา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษี และพระอาจารย์บุญธรรม วัดพราตุหริภุญชัย ได้บันทึกไว้ว่า

ปี พ.ศ. 2435 ตรงกับสมัยของเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ในสมัยรัชกลาลที่ ๕ พระเจดีย์ของวัดมหาวันได้ชำรุดและพังลงบางส่วน ทางวัดจึงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในการรื้อบางส่วนได้พบพระรอดจำนวนมาก เมื่อบูรณะเสร็จแล้วจึงบรรจุไว้ตามเดิม

ปี พ.ศ.2451 ฐานพระเจดีย์ชำรุด จึงทำการบูรณอีก ได้พบพระรอดจำยนวนมาก จึงนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและประชาชนจำนวนมาก และเรียกพระรอดชุดนี้ว่า พระรอดกรุเก่า (เจ้าหลวงได้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ถวายแก่เจ้านายระดับสูงหลายพระองค์ เจ้านายวังหน้า มีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ได้นำไปฝังไว้ที่ด้านหลังพระเครื่องที่พระองค์และเหล่าเจ้านายทรงสร้าง มีพระสมเด็จโต และพระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน เป็นต้น )

ปี พ.ศ.2498 ขุดพบพระรอดบริเวณหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิ ประมาณ 300 กว่าองค์

ปี พ.ศ.2506 ทางวัดได้รื้อพื้นพระอุโบสถ พบพระรอดประมาณ 300 กว่าองค์ ต่อมาภายหลังก้มีการขุดพบเรื่อย ๆ แต่ไม่มากนัก รวมเรียกพระรอดกรุใหม่

ปี พ.ศ.2513-14 ทางวัดทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ จึงมีการประมูลให้ขุดค้นหาพระรอด เพื่อหาเงินมาสร้างพระอุโบสถ โดยมีกฎเกณฑ์การประมูลว่า ค่าประมูลขุด 4 ตารางเมตร ราคา 170,000 บาท ให้เวลา 4 ชั่วโมง ผู้ขุดจะได้หรือไม่ได้ ทางวัดก็ได้เงินจำนวนนั้น พ.ท.สมเกียรติ ซึ่งเป็นบุตรชายของบริษัทสยามฟาร์ม ซึ่งมีฐานะระดับเศรษฐีระดับต้น ๆ ของเมืองไทยสมัยนั้น ได้เข้าร่วมประมูลด้วย พ.ท.สมเกียริย์ได้ใช้สว่านเจาะลงไปตามแผ่นหินศิลาแลง บริเวณรอบฐานเจดีย์ แล้วงัดขึ้น ๆ จนขุดลงไประดับลึก พบพระรอดพิมพ์ต้อจำนวนหนึ่ง ได้มา 900 กว่าองค์ พระเหล่านี้ถูกน้ำอันมีส่วนผสมของแร่เหล็กซึมซับเกาะติด จนกลายเป็นแร่เหล็กสีดำเกาะแน่น เมื่อ พ.ท.สมเกียรติได้มารู้จักกับสันยาสี จึงนำพระรอดพิมพ์ต้อมามอบให้จำนวนหนึ่ง 70 องค์ พร้อมพระรอดพิมพ์อื่น ๆ อย่างละองค์สององค์ พระรอดพิมพ์ต้อนี้สร้างขึ้นเป็นรุ่นแรกในสมัยท่านฤาษีนารอด อันเป็นพระอาจารย์ของพระนางจามเทวี เมื่อสร้างเสร็จก็บรรจุไว้ในอุโมงค์ใต้เจดีย์วัดมหาวัน กาลเวลาผ่านไปมากกว่าพันปี อุโมงค์ก็ยุบลง พระรอดจำนวนมากก็ถูกอัดติดกันอยู่ใต้ดินบริเวณฐานและรอบพระเจดีย์ พระรอดเหล่านี้ก็เรียกพระรอดกรุใหม่ แท้จริงก็เป็นกรุเก่าทั้งนั้น

สีของพระรอด
นั้นมีอยู่ ๕ สีด้วยกัน
๑. พระรอดสีขาว
๒. พระรอดสีเขียว
๓. พระรอดสีเหลือง
๔. พระรอดสีแดง
๕. พระรอดสีดำ

ส่วนพิมพ์นั้นแบ่งออกได้ ๕ พิมพ์ด้วยกันคือ
๑. พระรอดพิมพ์ใหญ่
๒. พระรอดพิมพ์กลาง
๓. พระรอดพิมพ์เล็ก
๔. พระรอดพิมพ์ต้อ
๕. พระรอดพิมพ์ตื้น

สีและพระพุทธคุณ
พระรอดสีขาว มีอนุภาพในด้านก่อให้เกิดความรักเมตตา. และแคล้วคลาด
พระรอดสีเขียว มีคุณานุภาพ ในการเดินป่า ป้องกันภูตผีปีศาจ และสัตว์ร้าย
พระรอดสีเหลือง มีคุณานุภาพในทางเมตตามหานิยม (ในทางค้าขาย)
พระรอดสีดำ มีคุณานุภาพ ในทางคงกระพันชาตรี