แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัดมหาวัน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัดมหาวัน แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

พระรอดลำพูน กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
ประวัติพระรอดลำพูน
เป็นพระเครื่องชั้นหนึ่งในชุดเบญจภาคีของจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในสมัยทราวดีซึ่งมีอายุนับพันปีมาแล้ว ตำนานการสร้าง ตามตำนานกล่าวว่าพระวาสุเทพฤาษี กับพระสุกกทันตฤาษีได้สร้างเมืองหิริภุญชัยนครขึ้นแล้ว ปัจจุบันเรียกว่าเมืองลำพูน ได้แต่งทูตให้ลงมากราบบังคมทูลอนเชิญพระนางจามเทวีราชธิดากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ (ลพบุรี) ให้ขึ้นไปครองเมือง ต่อมาพระนางจามเทวีจึงได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัยนคร
ตามความต้องการของฤาษีทั้งสอง ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม ยังความผาสุขให้เกิดขึ้นแก่อาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างมาก เป็นที่โทมนัส ยินดีแก่พระวาสุเทพฤาษีกับพระสุกกทันตฤาษีเป็นอันมาก ฉะนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีและบุญญาธิการของพระนางจามเทวี ให้ปรากฏเป็นเกียรติคุณแก่โลก พระฤาษีทั้งสอง อันมีพระฤาษีนารอด จึงได้พร้อมใจกันสร้างพระพุทธประติมากรรมขนาดเล็ก ๆ ขึ้นถวายพระนางจามเทวี ด้วยการประจุด้วยอำนาจพุทธมนต์และญาณสมาบัติ ๘ (วิชาแปดประการ)ที่ตนได้บำเพ็ญสำเร็จมา และเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนาให้เจริญยิ่งต่อไป เพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังในภายภาคหน้าอีกด้วย

พระรอด

 พระรอดกรุวัดมหาวัน เป็นพระเครื่องที่ขึ้นชื่อลือชา ผู้คนแสวงหามาครอบครองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่มีอายุมากที่สุด และราคาค่างวดในตลาดพระเครื่องสูงระดับล้านขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่ว่าอยู่ในมือใคร ถ้าอยู่ในมือเซียนก็มีราคาไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โปรดศึกษาให้รู้และเข้าใจ แล้วแสวงหาของจริงของแท้ ซึ่งอาจซื้อหาได้ในราคาบ้านๆเท่านั้น อย่าเชื่อถือหนังสือเป็นมาตรฐานนัก เพราะคนทำหนังสือพระเครื่องขายก็ต้องการโปรโมทพระของตนเอง ของจริงของแท้อาจมีราคาหลักพันก็ได้ ซึ่งแล้วแต่บุญวาสาของใครของมัน แต่ถ้าเลื่อมใสจริงจัง ขอให้เป็นรูปพระก็ใช้ได้ทั้งนั้น ถ้าเราเลื่อมใสเคารพบูชาอย่างจริงัง เทพเทวาผู้ศักดิ์สิทธิ์ก็มาสิงสถิตย์ทำให้เป็นพระที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมาได้

รูปพระรอดที่นำมาแสดงไว้เป็นของจริง แต่อย่าเอาขนาดเป็นมาตรฐาน เพราะการถ่ายไม่เหมือนกัน และตบแต่งภาพไม่เหมือนกัน ผู้เขียนไม่ได้ละเอียดพิถีพิถันถึงขั้นจะทำให้พระทุกองค์มีขนาดที่เหมือนจริง แต่รูปลักษณ์นั้นเป็นของจริงแท้แน่นอน เพียงปรับให้มีขนาดเท่ากันทุกองค์ แต่บางองค์มีพื้นสีเดิมติดมาด้วย ทำให้องค์พระเล็กกว่าความเป็นจริง

พระรอดลำพูน มีพบที่กรุวัดมหาวันเท่านั้น เป็นศิลปะทวารวดี-ศรีวิชัย เป็นพระดินเผาทั้งสิ้น มีด้วยกันทั้งสิ้น 6 พิมคือ พระรอดพิมพ์ใหญ่, พระรอดพิมพ์กลาง, พระรอดพิมพ์เล็ก, พระรอดพิมพ์ต้อ, พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง ซึ่งพิมพ์สุดท้ายหาได้ยากที่สุด


พระอธิการทา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษี และพระอาจารย์บุญธรรม วัดพราตุหริภุญชัย ได้บันทึกไว้ว่า

ปี พ.ศ. 2435 ตรงกับสมัยของเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ในสมัยรัชกลาลที่ ๕ พระเจดีย์ของวัดมหาวันได้ชำรุดและพังลงบางส่วน ทางวัดจึงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในการรื้อบางส่วนได้พบพระรอดจำนวนมาก เมื่อบูรณะเสร็จแล้วจึงบรรจุไว้ตามเดิม

ปี พ.ศ.2451 ฐานพระเจดีย์ชำรุด จึงทำการบูรณอีก ได้พบพระรอดจำยนวนมาก จึงนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและประชาชนจำนวนมาก และเรียกพระรอดชุดนี้ว่า พระรอดกรุเก่า (เจ้าหลวงได้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ถวายแก่เจ้านายระดับสูงหลายพระองค์ เจ้านายวังหน้า มีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ได้นำไปฝังไว้ที่ด้านหลังพระเครื่องที่พระองค์และเหล่าเจ้านายทรงสร้าง มีพระสมเด็จโต และพระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน เป็นต้น )

ปี พ.ศ.2498 ขุดพบพระรอดบริเวณหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิ ประมาณ 300 กว่าองค์

ปี พ.ศ.2506 ทางวัดได้รื้อพื้นพระอุโบสถ พบพระรอดประมาณ 300 กว่าองค์ ต่อมาภายหลังก้มีการขุดพบเรื่อย ๆ แต่ไม่มากนัก รวมเรียกพระรอดกรุใหม่

ปี พ.ศ.2513-14 ทางวัดทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ จึงมีการประมูลให้ขุดค้นหาพระรอด เพื่อหาเงินมาสร้างพระอุโบสถ โดยมีกฎเกณฑ์การประมูลว่า ค่าประมูลขุด 4 ตารางเมตร ราคา 170,000 บาท ให้เวลา 4 ชั่วโมง ผู้ขุดจะได้หรือไม่ได้ ทางวัดก็ได้เงินจำนวนนั้น พ.ท.สมเกียรติ ซึ่งเป็นบุตรชายของบริษัทสยามฟาร์ม ซึ่งมีฐานะระดับเศรษฐีระดับต้น ๆ ของเมืองไทยสมัยนั้น ได้เข้าร่วมประมูลด้วย พ.ท.สมเกียริย์ได้ใช้สว่านเจาะลงไปตามแผ่นหินศิลาแลง บริเวณรอบฐานเจดีย์ แล้วงัดขึ้น ๆ จนขุดลงไประดับลึก พบพระรอดพิมพ์ต้อจำนวนหนึ่ง ได้มา 900 กว่าองค์ พระเหล่านี้ถูกน้ำอันมีส่วนผสมของแร่เหล็กซึมซับเกาะติด จนกลายเป็นแร่เหล็กสีดำเกาะแน่น เมื่อ พ.ท.สมเกียรติได้มารู้จักกับสันยาสี จึงนำพระรอดพิมพ์ต้อมามอบให้จำนวนหนึ่ง 70 องค์ พร้อมพระรอดพิมพ์อื่น ๆ อย่างละองค์สององค์ พระรอดพิมพ์ต้อนี้สร้างขึ้นเป็นรุ่นแรกในสมัยท่านฤาษีนารอด อันเป็นพระอาจารย์ของพระนางจามเทวี เมื่อสร้างเสร็จก็บรรจุไว้ในอุโมงค์ใต้เจดีย์วัดมหาวัน กาลเวลาผ่านไปมากกว่าพันปี อุโมงค์ก็ยุบลง พระรอดจำนวนมากก็ถูกอัดติดกันอยู่ใต้ดินบริเวณฐานและรอบพระเจดีย์ พระรอดเหล่านี้ก็เรียกพระรอดกรุใหม่ แท้จริงก็เป็นกรุเก่าทั้งนั้น

สีของพระรอด
นั้นมีอยู่ ๕ สีด้วยกัน
๑. พระรอดสีขาว
๒. พระรอดสีเขียว
๓. พระรอดสีเหลือง
๔. พระรอดสีแดง
๕. พระรอดสีดำ

ส่วนพิมพ์นั้นแบ่งออกได้ ๕ พิมพ์ด้วยกันคือ
๑. พระรอดพิมพ์ใหญ่
๒. พระรอดพิมพ์กลาง
๓. พระรอดพิมพ์เล็ก
๔. พระรอดพิมพ์ต้อ
๕. พระรอดพิมพ์ตื้น

สีและพระพุทธคุณ
พระรอดสีขาว มีอนุภาพในด้านก่อให้เกิดความรักเมตตา. และแคล้วคลาด
พระรอดสีเขียว มีคุณานุภาพ ในการเดินป่า ป้องกันภูตผีปีศาจ และสัตว์ร้าย
พระรอดสีเหลือง มีคุณานุภาพในทางเมตตามหานิยม (ในทางค้าขาย)
พระรอดสีดำ มีคุณานุภาพ ในทางคงกระพันชาตรี