วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553


พระกรุฮอด

กรุฮอด


ตำนานพระเมืองฮอด หรือที่เรียกว่า"พระกรุฮอด"ซึ่งตามตำนานค้นพบทุกวัดในเมืองนี้ก่อนที่จะกลายเป็นเมืองบาดาลไป พระหินสีเมืองฮอด จ.เชียงใหม่ พระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อแก้วผลึกที่ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลางมีแหล่งที่พบมากที่สุดคือเมืองเชียงใหม่เชียงรายและอยุธยาพระแก้วไม่ได้หล่อ หรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามที่เข้าใจกันแต่เป็นแร่รัตนชาติแท้ๆมีสีเขียวสีขาวและสีเหลืองฯลฯแร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือพลอยหินเนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยกหินเขี้ยวหนุมานหินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกุลหินบุษราคัมมีสีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง
ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่าบุษย์น้ำทอง พระแก้วสีขาวเรียกว่าเพชรน้ำต้มหรือเพชรน้ำค้างสันนิษฐานว่าพระแก้วมีการสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.. 2502-2503 กรมศิลปากรได้ค้นพบพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบมาเก็บไว้เนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จน้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมดในครั้งนั้นทางการได้ขุดพบพระแก้วมากที่สุดและเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุดแร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระแก้วนี้เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีนหินเขี้ยวหนุมานที่เนื้อดีน้ำงามที่สุดที่เรียกกันว่าจุ๊ยเจียประกายแห่งพลังคนจีนโบราณถือกันว่าแก้วขาวจุ๊ยเจียสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่อต้านอาถรรพณ์ต่างๆได้ด้วยใยพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้จากกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอดที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและเนื้อสีเหลืองที่ทางการได้ขุดค้นรวบรวมไว้รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควรมีขนาดใหญ่มีขนาดหน้าตัก 3 นิ้วเศษขนาดเล็ดสุด0.5 นิ้วพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมีเป็นงานสร้างศิลปะด้วยวัตถุที่มีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็บอนุรักษ์ไว้เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆการสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะ และความสามารถในการวางรูปแบบที่สูงมากเป็นการสร้างที่ทำยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามากพระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะด้วยกันหลายคนเพราะแต่ละองค์มีฝีมือทำได้งดงามมากมีปางสมาธิและปางมารวิชัยปางยืนก็มีบ้างแต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่21-22 อันเป็นยุคทองของเชียงใหม่ที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้วยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์รวมทั้งรูปสัตว์เช่นช้างกวางหมอบนกคุ้มและภาชนะเครื่องใช้สอยจำลองขนาดเล็กอีกจำนวนมาก สันนิษฐานว่าขณะนั้นนิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลองอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาต่อสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยที่เมืองโบราณแห่งอื่นจะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้นเข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูงสร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัวหรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงศาสนา
พระแก้วกรุเมืองฮอดจะพบในหลายวัดด้วยกันเช่นวัดหลวงฮอดวัดศรีโขงวัดเจดีย์สูงวัดดอกเงินและวัดสันหนองฯลฯแต่กล่าวโดยรวมได้ว่าที่กรุวัดศรีโขงเป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุดเพราะเป็นกรุใหญ่มากเมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา(ปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด)ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุงพงศาวดารโยนกชี้ว่าเมืองนี้คือท่าเชียงทองศูนย์กลางของเมืองคงอยู่ที่วัดหลวงฮอดในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมาสร้างเมืองลำพูนได้แวะพักที่ริมแม่น้ำปิงก่อนได้สถานที่แห่งนี้เป็นทำเลดีจึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปีพ.. 1203 ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลุกหนึ่งชื่อว่าดอยเกิ้ง (ดอยฉัตร)และได้สร้างวัดรวม 99 วัด วัดพระเจ้าโท้วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวีนอกจากนั้นเมื่อปีพ.. 2513 มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละเทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้วลำพูนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดก็เก่าถึงสมัยหริภุญไชย

นอกจากนี้ ยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์ รวมทั้งรูปสัตว์ เช่น ช้าง กวางหมอบ และภาชนะเครื่องใช้จำลองขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา และเป็นศิลปะ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันงดงามยิ่ง
จากหลักฐานในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งหลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูงบอกชื่อจักรพรรดิสี่จงตรงกับ พ.. 2065–2110 เครื่องถ้วยจีนชิ้นที่เก่าที่สุดพบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักรพรรดิสี่จงปีศักราชซ้วนเต็กตรงกับปีพ.. 1919-1978 การได้พบสิ่งของอื่นๆอีกจำนวนมากบอกอายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นช่วงที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรืองทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายหรือผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนที่จะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่เชียงรายและพะเยา เมืองฮอดดำรงฐานะเป็นเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนานเมื่อสี่สิบปีก่อนข้าพเจ้า(ลุงดอน) ได้ทันเห็นการขุดค้นโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วยเมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลายทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนไปจากผู้คนในยุคนี้เมื่อลมหายใจยังมีอยู่ศิลปะของเมืองฮอดยังคงได้รับการสืบทอดสานต่อ ณ ที่นี่ไปอีกนาน

ขอบคุณ ทุกท่านที่สนใจศึกษาพระกรุฮอด
(คำเตือนโปรดศึกษาก่อนสะสม การพิจารณาหลักๆประกอปด้วย ดูศิลปะ หรือฝีมือการแกะ คราบกรุ และพื้นผิวขององค์พระ)


คนที่เชื่อในเรื่องพุทธคุณก็มั่นใจได้เต็มร้อย โดนเฉพาะ เรื่องโภคทรัพย์ ป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
จึงถือได้ว่าเป็นพระบูชาที่ทรงคุณค่าแก่การศึกษาและสะสมเป็นอย่างยิ่ง


ขอโชว์ พระสังกัจจายน์ กรุฮอด (ช่างหลวง)









ติดรางวัลที่2


โชว์กรุฮอด คราบกรุสีแดงและคราบหินปูนเกาะเต็มองค์ (รังใหญ่) นานๆจะมีให้ศึกษากัน
หาศึกษาได้จาก หนังสือของท่าน อ.ประชุม กาญจนวัฒน์






พระกรุฮอด ของดีเมืองเชียงใหม่...

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

My Coke

ติดต่อ Coke email coke191@gmail.com

My Spider

xanga.com
webs.com
weebly.com

ไอแมงมุม

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติครูบาเจ้า


ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน "ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ.1240 เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 11 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2421 ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน (ปัจจุบันคือตำบลศรีวิชัย) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน มีชื่อตามลำดับ คือ



1.นายไหว

2.นางอวน

3.นายอินท์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย)

4.นางแว่น

5.นายทา

ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์ (เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 7 ช่วง พ.ศ. 2414-2431) ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน



ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยง ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ 17 ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัตติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ 18 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ 3 ปีต่อมา (พ.ศ. 2442) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า 21 ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก 1 พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละ วัดดอยแตเป็นเวลา 1 พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. 2444 อายุได้ 24 ปี พรรษาที่ 4 ครูบาขัตติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ 5 ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ 26 ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง 5 เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง 7 คือ