วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ม้าเสพนาง

ผ้ายันต์ม้าเสพนาง (ยุคต้น) ครูบาวัง สร้างประมาณปี 2490-2500

ผ้ายันต์แห่งเมตตามหาเสน่ห์อันดับ1ของเมืองไทยก็ว่าได้ ที่โด่งดังคงต้องยกให้ ม้าเสพนาง ของท่านครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก ผ้ายันต์ม้าเสพนางของท่านขึ้นชื่ออย่างมากทางด้านมหาเสน่ห์ เป็นที่เสาะแสวงหากัน ของแท้มีน้อยมากเพราะในการสร้างแต่ละครั้ง ไม่ได้สร้างกันครั้งละมาก ๆ แต่จะสร้างให้เฉพาะเป็นรายบุคคลที่มาขอท่านโดยตรงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นยุคปลายที่ปั๊มจากแท่นสกีนก็จะมีมากขึ้นมาหน่อย ผ้าที่ใช้ในการสร้างผ้ายันต์ ยุคต้น และยุคกลาง ก็จะต้องเป็นผ้าดิบที่ผ่านการห่อศพมาแล้ว (ในตำราระบุว่าต้องเป็นผ้าคลุมศพหรือผ้าคลุมโลงศพเท่านั้น ถึงจะเข้มขลังสุดๆ) เป็นสูตรอย่างหนึ่งในการทำผ้ายันต์ของท่าน โดยนำมาวาด ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกในคืนจันทร์เพ็ญ สูตรมหาเสน่ห์ม้าเสพนางที่นุ่มนวลล้ำลึกแต่เวลาใช้กลับร้อนแรง ไร้เทียมทาน ผ้ายันต์เขียนมือนี้ ถือเป็นผ้ายันต์ยุคกลางของท่าน ถ้าเป็นยุคต้น ๆ จะวาดและเขียนด้วยดินสอ ขนาดของผ้ายันต์ผืนนี้ ประมาณ 1ฟุตกว่า x 1ฟุตกว่า สภาพสวยสมบูรณ์ ทำจากผ้าดิบที่ได้มาจากการห่อศพ หายากมาก คนในพื้นที่ห่วงกันมาก รุ่นที่นิยม มีเพียง 3รุ่นเท่านั้น รุ่นแรกใช้ดินสอ  รุ่นสองใช้ปากกา รุ่นสามสกรีน(ยุคปลายของหลวงพ่อแล้ว)  ของปลอมเยอะมาก ดังนั้นผู้ที่คิดจะมีไว้ต้องศึกษาหน่อยนะ เพราะรุ่นปลายหลวงพ่อหามาตรฐานไม่ได้เรย  นอกจากนี้ยังมีผ้ายันต์ที่มีอานุภาพแรงมากไม่แพ้กันคือ ผ้ายันต์พญาอิ่นแก้ว และ ผ้ายันต์พญาเขาคำ และอื่นๆ ว่างๆจะถ่ายรูปของจริงมาให้ดูกันครับ

สุดยอดผ้ายันต์ม้าเสพนางที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่ีงแห่งแดนล้านนา นับวันราคายิ่งแพงขึ้นทุกขณะ ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาวังผืนนี้เขียนมือผืน การสร้างผ้ายันต์ในยุคนี้หลวงพ่อท่านจะลงจารอักขระ และเขียนแบบพร้อมกับ บริกรรมคาถากำกับ ทุกตัวครับ ครบสูตรสำหรับแจกให้กับลูกศิษย์ พุทธคุณทุกด้านครับ มหาอำนาจเมตตา บารมี มหาเสน่ห์ ใช้ในด้านค้าขายยิ่งดี ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใครที่นำไปบูชาขอให้ศรัทธาจริงฯครับรับรองครับว่ามีประสบการณ์กับตัวเองแล้วจะรู้สึกได้ครับว่าพุทธคุณของหลวงพ่อท่านเข้มขลังจริงคับผม

ใครมีไว้รับรองชีวิตท่านจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นทุกอย่างทั้งโชคลาภ เงินทอง หน้าที่การงาน ไปได้แบบสุดๆอย่างน่าอัศจรรย์

ม้าเสพนาง พุทธคุณโดดเด่นมาก สุดยอดเสน่ห์เมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขาย วาสนาบารมี


ผ้ายันต์ ม้าเสพนาง ครูบาวัง

 ทุกผืนเขียนด้วยมือด้วยปากกา ม้าเสพนาง (ยุคต้น)


ผ้ายันต์ม้าเสพนาง ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก


ม้าเสพนาง สีคล้ายจีวรพระ (ผ้าย้อม) หายากสุด
ม้าเสพนาง สีคล้ายจีวรพระ (ผ้าย้อม) หายากสุด












ผ้ายันต์ม้าเสพนาง



วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553



ครูบาวัง พรหมเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น ต.หนองบัวเหนือ อ.เมือง จ.ตาก
เป็นพระเถระที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติครบถ้วนในสมณสารูป มีความเมตตากรุณาแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยท่านได้สร้างวัดบ้านเด่นตั้งแต่ยังเป็นป่าดง จนกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง มีผู้รู้จักกว้างขวางอย่างที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้สร้างพระเครื่องรางของขลังจนเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ลูกหาว่าเป็นของดีที่มีคุณค่า ท่านถือกำเนิดที่บ้าน ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ย. 2434 ปีเถาะ เป็นบุตรของเจ้าคำปวน และเจ้าบัวเงา ณ ลำพูน บิดามารดาเป็นเชื้อสายเจ้าภาคเหนือ แต่ครอบครัวของพ่อยึดอาชีพค้าขายทำไร่ทำนาตลอดมา มำพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน เป็นชาย 4 หญิง 4 ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น " แก้วมหาวงศ์ "

เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดบ้านเหมืองจี้ จนกระทั่งอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2455 ณ วัดบ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระกันธิยะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปั๋น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการปุ้ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า " พรหมเสโน"

หลังอุปสมบทแล้วได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ โดยครั้งแรกได้ธุดงค์ไปช่วยสร้างวัดต้นธงชัย อ.แม่พริก จ.ลำปาง จนได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ 4 พรรษา ต่อจากนั้นได้ธุดงค์ไปช่วยสร้างวัดสองแคว อ.เมือง จ.ตาก อีก 2 พรรษา และได้เป็นเจ้าอาวาสเช่นกัน หลังจากนั้นจึงได้มาสร้างวัดบ้านเด่น

ในจำนวนเวลาที่เดินธุดงค์ 12 ปีนั้น มีอยู่ 2 ปีที่ท่านได้ธุดงค์ไปเมืองย่างกุ้งเพื่อเรียนภาษาพม่า และได้เรียนเวทย์มนต์คาถาที่เป็นภาษาพม่าจนมีความชำนาญอย่างดี จึงเดินทางกลับเมืองไทย ในระหว่างทางได้พบป่าแห่งหนึ่งชื่อ " ป่าเด่นกระต่าย " ซึ่งมีความร่มเย็นน่าอยู่อาศัย และมีหมู่บ้านที่ห่างไกลและยากจน จึงคิดสร้างวัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลชาวบ้านในการประกอบ

พิธีกรรมทางศาสนา เริ่มแรกท่านได้สร้างกุฏิมุงหลังคาด้วยไม้แฝกก่อน 3 หลัง ซึ่งนับเป็นสำนักสงฆ์ที่แห้งแล้งยังไม่มีอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว ต่อมาประชาชนในต.หนองบัวเหนือ อ.เมือง จ.ตาก ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สร้างวัดบ้านเด่น ได้มองเห็นความจำเป็นของพระสงฆ์ที่ทนทุกข์ยากลำบากในเรื่องความเป็นอยู่ และอาหารการกิน จึงสละแรงกายแรงใจช่วยกันคนละไม่คนละมือร่วมกับพระสงฆ์สามเณร จนได้ศาลาไม้เก่าขึ้นมาหนึ่งหลัง และให้ชื่อว่า " วัดบ้านเด่น " ตามสถานที่ตั้งวัดซึ่งเป็นป่าเด่นกระต่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป่าแห่งนี้

ทั้งนี้ ก่อนที่วัดบ้านเด่นจะมีชื่อเสียงเด่นสมชื่อสมความปรารถนาของครูบาวัง วัดแห่งนี้ได้รับความอุปถัมภ์จากปลักอำเภอเมืองตาก และครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป ปลัดอำเภอท่านนั้นก็คือ " ขุนโสภิต " บิดาของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อครูบาวัง ซึ่งได้มอบตัวเป็นศิษย์และเป็นผู้บริจาคทรัพย์ร่วมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก ครูบาวังท่านเป็นเจ้าอาวาสผู้ถือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาโดยตลอด ได้บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสาธุชนผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมาด้วยความเมตตาปรานี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ทุกหมู่เหล่า โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใดๆ จนมีศิษยานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ

เครื่องรางของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในภาคเหนือ และมีประสบการณ์ความศักดิ์เข้มขลังก็คือ ?ตะกรุด? ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ตะกรุด 5 ดอก,9 ดอก,108 ดอก,ตะกรุดจำปาสี่ต้น,ตะกรุดคลอดลูกง่าย,ตะกรุดแหนบใบพลู และสีผึ้งน้ำมนต์ ,ชานหมาก และเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี2506 นอกจากนี้

ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องรักษาไข้และโหราศาสตร์ รวมทั้งมีพรพิเศษอีกประการหนึ่งคือ ท่านสามารถนั่งเทียนสะเดาะเคราะห์ เทียนให้โชคลาภ หรือนั่งเทียนเพื่อให้ชนะคดีความยามขึ้นโรงขึ้นศาล และในเรื่องอื่นๆ

วาระสุดท้ายแห่งชีวิต ครูบาวังได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2516 เวลา 24.00 น. ณ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ด้วยวัย 82 ปี พรรษาที่ 62 โดยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น 56 พรรษา

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขอโชว์นะครับ พระเชียงแสน สิงห์สาม แปดนิ้ว แท้เก่าชัวร์  ชมเพื่อการศึกษานะครับ
ยังไม่คิดจะขายนะครับ แต่ถ้าได้นิ้วละแสน ก็ไม่แน่



ในประเทศไทยนั้นมีพระพุทธรูปมากมายหลายแบบหลายสมัย ซึ่งแต่ละแบบแต่ละสมัยก็จะมีความแตกต่างทางศิลปะตามอิทธิพลของถิ่นกำเนิดและศิลปะต้นแบบ "พระพุทธรูปเชียงแสน" เป็นพระพุทธรูปอีกศิลปะหนึ่งที่สำคัญและมีต้นกำเนิดจากทางภาคเหนือครับผม

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ภาคเหนือของประเทศไทยเคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันกว้างใหญ่ชื่อว่า "อาณาจักรเชียงแสน" ในราวรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแผ่อำนาจเข้ามาปกครองเมืองเชียงแสน พระองค์ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) อย่างพุกามเข้ามาเผยแผ่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานที่เข้ามาทางประเทศอินเดียฝ่ายเหนือผ่านมอญและพม่า

อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง การสร้างพระพุทธรูปจึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละ ซึ่งมีพุทธลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีทำเป็นแบบดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาทำเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ นิยมสร้างเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และปรากฏพระบาททั้งสองข้าง และตั้งชื่อพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ว่า "พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน" เชื่อกันว่าเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ของไทย

"พระพุทธรูปเชียงแสน" ไม่ได้มีจำกัดอยู่เฉพาะที่เมืองเชียงแสนเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบข่ายออกไปถึงเมืองเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน และเลยเข้าไปยังเมืองหลวงพระบางและนครเวียงจันทน์ ด้วยพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้เข้ามามีอำนาจอยู่ในนครเชียงใหม่ช่วงระยะหนึ่ง และกวาดต้อนชาวเชียงใหม่ที่มีฝีมือในการสร้างพระพุทธรูป ไปสร้างพระพุทธรูปในเขตเมืองหลวงพระบางและเมืองเวียงจันทน์ จึงได้เกิดเป็นพุทธรูปศิลปะอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "พระเชียงแสนลาว" หรือ "พระพุทธรูปแบบเชียงแสนนอกเมือง" มีอายุเทียบได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประมาณอายุใกล้เคียงกับ "พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ 3" หรือสมัยอยุธยา ยังมีการค้นพบในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยทั่วไป ซึ่งเป็นต้นแบบฝีมือสกุลช่างปั้นพระพุทธรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสมัยต่อมา พระพุทธรูปเชียงแสนยังได้รับอิทธิพลและแบบอย่างจากพุทธศิลปะประเทศลังกา ซึ่งเผยแผ่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย เกิดเป็นพุทธศิลปะอีกแบบหนึ่งเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์"

สรุปว่าพระพุทธรูปเชียงแสนนั้น มีมาก มายหลายสกุลช่าง และได้มีการสืบสานการสร้างตลอดมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี พุทธลักษณะหลักมีดังนี้ พระเกศทำเป็นพระเกศบัวตูม พระศกทำเป็นขมวดก้นหอย และเม็ดพระศกค่อนข้างเขื่อง พระพักตร์อวบอูมดูสมบูรณ์ และปรากฏรอยยิ้มเล็กน้อย พระเนตรเป็นแบบเนตรเนื้อ (ไม่ฝังมุก) พระหนุเป็นรอยหยิก พระวรกายอวบอ้วนสมบูรณ์ ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวนมและแตกเป็นปากตะขาบ ซึ่งจะเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1" ถ้ายาวเลยราวนมลงมาเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 2" และสุดท้ายถ้ายาวลงมาจรดพระหัตถ์ จะเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 3" ครับผม


องค์นี้พึ่งได้มาเมื่อเดือนตุลา 2553 ขนาด สองนิ้วครึ่ง สภาพเดิม เก่าเก็บ ดินเดิมยังอยู่หายากมากเนื้อนี้ "พระเชียงแสน สิงห์หนึ่ง สนิมหยก"

พระกรุฮอด

กรุฮอด


ตำนานพระเมืองฮอด หรือที่เรียกว่า"พระกรุฮอด"ซึ่งตามตำนานค้นพบทุกวัดในเมืองนี้ก่อนที่จะกลายเป็นเมืองบาดาลไป พระหินสีเมืองฮอด จ.เชียงใหม่ พระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อแก้วผลึกที่ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลางมีแหล่งที่พบมากที่สุดคือเมืองเชียงใหม่เชียงรายและอยุธยาพระแก้วไม่ได้หล่อ หรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามที่เข้าใจกันแต่เป็นแร่รัตนชาติแท้ๆมีสีเขียวสีขาวและสีเหลืองฯลฯแร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือพลอยหินเนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยกหินเขี้ยวหนุมานหินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกุลหินบุษราคัมมีสีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง
ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่าบุษย์น้ำทอง พระแก้วสีขาวเรียกว่าเพชรน้ำต้มหรือเพชรน้ำค้างสันนิษฐานว่าพระแก้วมีการสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.. 2502-2503 กรมศิลปากรได้ค้นพบพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบมาเก็บไว้เนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จน้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมดในครั้งนั้นทางการได้ขุดพบพระแก้วมากที่สุดและเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุดแร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระแก้วนี้เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีนหินเขี้ยวหนุมานที่เนื้อดีน้ำงามที่สุดที่เรียกกันว่าจุ๊ยเจียประกายแห่งพลังคนจีนโบราณถือกันว่าแก้วขาวจุ๊ยเจียสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่อต้านอาถรรพณ์ต่างๆได้ด้วยใยพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้จากกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอดที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและเนื้อสีเหลืองที่ทางการได้ขุดค้นรวบรวมไว้รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควรมีขนาดใหญ่มีขนาดหน้าตัก 3 นิ้วเศษขนาดเล็ดสุด0.5 นิ้วพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมีเป็นงานสร้างศิลปะด้วยวัตถุที่มีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็บอนุรักษ์ไว้เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆการสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะ และความสามารถในการวางรูปแบบที่สูงมากเป็นการสร้างที่ทำยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามากพระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะด้วยกันหลายคนเพราะแต่ละองค์มีฝีมือทำได้งดงามมากมีปางสมาธิและปางมารวิชัยปางยืนก็มีบ้างแต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่21-22 อันเป็นยุคทองของเชียงใหม่ที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้วยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์รวมทั้งรูปสัตว์เช่นช้างกวางหมอบนกคุ้มและภาชนะเครื่องใช้สอยจำลองขนาดเล็กอีกจำนวนมาก สันนิษฐานว่าขณะนั้นนิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลองอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาต่อสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยที่เมืองโบราณแห่งอื่นจะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้นเข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูงสร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัวหรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงศาสนา
พระแก้วกรุเมืองฮอดจะพบในหลายวัดด้วยกันเช่นวัดหลวงฮอดวัดศรีโขงวัดเจดีย์สูงวัดดอกเงินและวัดสันหนองฯลฯแต่กล่าวโดยรวมได้ว่าที่กรุวัดศรีโขงเป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุดเพราะเป็นกรุใหญ่มากเมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา(ปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด)ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุงพงศาวดารโยนกชี้ว่าเมืองนี้คือท่าเชียงทองศูนย์กลางของเมืองคงอยู่ที่วัดหลวงฮอดในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมาสร้างเมืองลำพูนได้แวะพักที่ริมแม่น้ำปิงก่อนได้สถานที่แห่งนี้เป็นทำเลดีจึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปีพ.. 1203 ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลุกหนึ่งชื่อว่าดอยเกิ้ง (ดอยฉัตร)และได้สร้างวัดรวม 99 วัด วัดพระเจ้าโท้วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวีนอกจากนั้นเมื่อปีพ.. 2513 มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละเทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้วลำพูนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดก็เก่าถึงสมัยหริภุญไชย

นอกจากนี้ ยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์ รวมทั้งรูปสัตว์ เช่น ช้าง กวางหมอบ และภาชนะเครื่องใช้จำลองขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา และเป็นศิลปะ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันงดงามยิ่ง
จากหลักฐานในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งหลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูงบอกชื่อจักรพรรดิสี่จงตรงกับ พ.. 2065–2110 เครื่องถ้วยจีนชิ้นที่เก่าที่สุดพบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักรพรรดิสี่จงปีศักราชซ้วนเต็กตรงกับปีพ.. 1919-1978 การได้พบสิ่งของอื่นๆอีกจำนวนมากบอกอายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นช่วงที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรืองทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายหรือผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนที่จะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่เชียงรายและพะเยา เมืองฮอดดำรงฐานะเป็นเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนานเมื่อสี่สิบปีก่อนข้าพเจ้า(ลุงดอน) ได้ทันเห็นการขุดค้นโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วยเมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลายทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนไปจากผู้คนในยุคนี้เมื่อลมหายใจยังมีอยู่ศิลปะของเมืองฮอดยังคงได้รับการสืบทอดสานต่อ ณ ที่นี่ไปอีกนาน

ขอบคุณ ทุกท่านที่สนใจศึกษาพระกรุฮอด
(คำเตือนโปรดศึกษาก่อนสะสม การพิจารณาหลักๆประกอปด้วย ดูศิลปะ หรือฝีมือการแกะ คราบกรุ และพื้นผิวขององค์พระ)


คนที่เชื่อในเรื่องพุทธคุณก็มั่นใจได้เต็มร้อย โดนเฉพาะ เรื่องโภคทรัพย์ ป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
จึงถือได้ว่าเป็นพระบูชาที่ทรงคุณค่าแก่การศึกษาและสะสมเป็นอย่างยิ่ง


ขอโชว์ พระสังกัจจายน์ กรุฮอด (ช่างหลวง)









ติดรางวัลที่2


โชว์กรุฮอด คราบกรุสีแดงและคราบหินปูนเกาะเต็มองค์ (รังใหญ่) นานๆจะมีให้ศึกษากัน
หาศึกษาได้จาก หนังสือของท่าน อ.ประชุม กาญจนวัฒน์






พระกรุฮอด ของดีเมืองเชียงใหม่...